Page 646 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 646

P23


                  วิธีการศึกษา

                         ปฏิบัติตามแผนการดำเนินงาน Plan Do Check Act  ดังนี้ 1) Plan (การวางแผน) เก็บรวบรวม
                  ข้อมูลสภาพปัจจุบันของปัญหา วิเคราะห์ข้อมูล และกำหนดเป้าหมาย 2) Do (การปฏิบัติตามแผน) ทบทวน
                  แนวทางในหน่วยงานในการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนคาปัสสาวะ ทบทวนแนวทางปฏิบัติทางคลินิกตาม
                  หลักฐานเชิงประจักษ์ พัฒนาแนวทางปฏิบัติ จัดประชุมชี้แจงในหน่วยงานสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องและเป็นไป

                  ในแนวทางเดียวกัน 3) Check (การตรวจสอบ) เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค โดยใช้
                  กระบวนการ Root Cause Analysis และ 4) Act (การปรับปรุงการดำเนินการ) ดำเนินการแก้ไข ประเมินผล
                  อัตราการเกิด CAUTI ตามตัวชี้วัดของหน่วยงาน สรุปผลการแก้ปัญหา และเขียนแนวทางการปฏิบัติพร้อม

                  ติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง
                      1) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา พบสาเหตุของปัญหา 1.1) Man (บุคลากรทาง
                  การแพทย์) ขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติตามแนวทาง ขาดการตระหนักถึงความสำคัญทำให้การปฏิบัติ
                  ไม่สม่ำเสมอ และภาระงานมาก 1.2) Method (กระบวนการทำงาน) แนวทางปฏิบัติไม่ชัดเจน       การนิเทศ
                  และสื่อสารแนวทาง CAUTI bundle care ไม่ต่อเนื่อง

                      2) วางแผนปรับปรุงแก้ไข ตามสาเหตุของปัญหา ดังนี้
                          2.1) Man : บุคลากรทางการแพทย์
                             2.1.1) ทบทวนเอกสารวิชาการ/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์

                  หลักฐานเชิงประจักษ์ จัดทำโปสเตอร์ประจำหน่วยงานให้ความรู้และส่งเสริม
                  ทักษะในการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะป้องกันการเกิด CAUTI สะดวกใน
                  การทบทวนความรู้ กระตุ้นการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง
                             2.1.2) กระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตาม

                         แนวทางปฏิบัติ
                             2.1.3) พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย ป้องกันการเกิด CAUTI
                  ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มีความชัดเจนสามารถปฏิบัติได้ง่าย และเป็นระบบ
                  เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยจัดทำคู่มือ รูปแบบ QR code

                  สะดวกต่อการทบทวนแนวทางปฏิบัติการพยาบาลป้องกันการติดเชื้อในระบบ
                  ทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ NO-CAUTI
                          2.2) Method : กระบวนการทำงาน
                             2.2.1) พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยป้องกันการเกิด

                  CAUTI ให้มีความชัดเจน
                             2.2.2) จัดทำแบบประเมิน CAUTI Prevention
                  Checklist : NO-CAUTI ให้มีความสะดวก

                  และครอบคลุม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้อย่างต่อเนื่องถูกต้องตามขั้นตอน และสามารถ
                  ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                             2.2.3) จัดระบบนิเทศบุคลากรในหน่วยงานสามารถปฏิบัติตามแนวทางได้อย่างต่อเนื่อง
                             2.2.4) จัดประชุมชี้แจงแนวทางปฏิบัติ CAUTI Bundle Care : NO-CAUTI แก่บุคคลากรใน
                  หน่วยงาน ให้สามารถปฏิบัติได้ถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตามรอบการประชุมของหน่วยงานทุกๆ 1

                  เดือน
   641   642   643   644   645   646   647   648   649   650   651