Page 648 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 648
P25
การพัฒนางานการผ่าตัดด้วยกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ด้านการดูแลในหอผู้ป่วย
รัตติยา สุขสกล ทีมนำศัลยกรรม
โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรงพยาบาลพระปกเกล้าเป็นโรงพยาบาล ระดับ P Plus ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
และจังหวัดใกล้เคียง แผนกศัลยกรรมให้บริการการผ่าตัดผู้ป่วยในหลายระดับทั้งการผ่าตัดพื้นฐานและการผ่าตัด
ที่ยุ่งยากซับซ้อน โดยมีเป้าหมายก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการผ่าตัดในเขตบริการ ซึ่งจำเป็นต้องมีความเข้าใจและร่วมมือ
กันในทุกส่วนงาน รวมถึงหอผู้ป่วยในการพัฒนารูปแบบการผ่าตัดจากการผ่าตัดเปิดสู่การผ่าตัดแบบแผลเล็กเจ็บตัว
น้อย โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณทั้งจำนวนผ่าตัดและชนิดการผ่าตัดเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักในปี พ.ศ. 2566
ของทางกลุ่มงาน โดยมีข้อจำกัดของกิจกรรม คือ การไม่เพิ่มทรัพยากรด้านหอผู้ป่วยใน ทีมนำบริการวางแผนในการ
ปรับการบริการและทำความเข้าใจในผลดีและข้อควรระวังเพื่อให้การบริการที่สอดรับกับการพัฒนาและภาระงาน
สนับสนุนการผ่าตัดหลายด้าน
วัตถุประสงค์การศึกษา
ศึกษาประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยด้านการผ่าตัดแผลเล็กเจ็บตัวน้อยหลังการปรับปรุงระบบการดูแล
ในหอผู้ป่วยในด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยเก็บสถิติการผ่าตัด,ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และภาพรวมอัตรา
ครองเตียง
วิธีการศึกษา
1. ร่วมจัดตั้งทีมทำงานและคณะกรรมการที่เหมาะสมและครอบคลุม โดยคัดเลือกจากความสมัครใจ
และผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงการแต่งตั้ง Nurse coordinator ที่รับผิดชอบงาน MIS
2. รวบรวมข้อมูลพื้นฐานการผ่าตัดส่องกล้องในโรงพยาบาล แบ่งแยกตามชนิดการผ่าตัดและกลุ่ม
ผู้ป่วย เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการลดการใช้ทรัพยากรและ
การเพิ่มผลสัมฤทธิ์
3. ร่วมศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มจากแพทย์เจ้าของงานทั้งระยะก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อการดูแล
และให้ข้อมูลผู้ป่วย, การลงบันทึกข้อมูล, การเบิกจ่าย และศึกษาภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่มีโอกาสเกิดขึ้น
4. ใช้พื้นที่และบุคลากรหอผู้ป่วยร่วมปฏิบัติโครงการ รวบรวมปัญหาและข้อผิดพลาดทั้งหมด เพื่อ
นำมาวิเคราะห์แก้ปัญหาเป็นระยะ โดยมุ่งเน้นความยั่งยืนและสามารถกระจายวิธีการทำงานสู่ส่วนงานอื่นๆได้
5. รวบรวมปัญหาสำคัญที่เป็นผลกระทบจากการทำโครงการและวางแนวทางการแก้ปัญหา โดยยึด
หลักความปลอดภัย, ประโยชน์ต่อผู้ป่วยและการพัฒนาโรงพยาบาล เช่น อัตราการครองเตียง การเบิกจ่ายและ
การบันทึกข้อมูลในระบบ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนา
6. พัฒนารูปแบบให้เหมาะสมต่อการผ่าตัดจำนวนมากขึ้นและมีความคุ้มค่าในการเบิกจ่าย
โดยผนวกรวมเข้ากับหลักการดูแลแบบ ODS เช่น การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี
7. พัฒนาการผ่าตัดส่องกล้องที่มีความยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มขึ้น เช่น การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน และการ
ผ่าตัดส่องกล้องในภาวะฉุกเฉินทางช่องท้อง