Page 651 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 651
P28
นวัตกรรมเครื่องเตือนสารละลายสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง (Sound Alarm Sensor)
ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ
พว.พิศมัย มั่นคง, พว.ณัชชารี ยศเพิ่มศักดิ์
โรงพยาบาลชลบุรี เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
Continuous Bladder Irrigation (CBI) เป็นการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่องตลอด
24 ชั่วโมง ทำในผู้ป่วยหลังผ่าต่อมลูกหมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดอุดตันการไหลของปัสสาวะ ถ้าไม่ต่อเนื่อง
จะทำให้มีลิ่มเลือดมาอุดตัน (Clot blood) ท่อของสายสวนปัสสาวะ หากมีการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง ผู้ป่วยเจ็บปวดและไม่สุขสบาย จากสถิติในปีงบประมาณ 2565 พบว่าผู้ป่วย
โรคต่อมลูกหมากโตที่รักษา ด้วยการผ่าตัดส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ หลังผ่าตัดจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะ
ชนิด 3 หาง เพื่อล้างกระเพาะ ปัสสาวะแบบต่อเนื่อง (CBI) จำนวน 24 ราย มีการอุดตันของท่อทางเดิน
ปัสสาวะที่สามารถแก้ไขได้โดยทำ Manual irrigate จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.33 แก้ไขโดยการ
milking สายปัสสาวะจำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.5
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอุดตันของลิ่มเลือด คือการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะขาดความต่อเนื่อง
ของสารละลายทำให้การล้างขาดช่วงไป ซึ่งห้องพิเศษเป็นห้องปิดมองไม่สามารถเห็นผู้ป่วยได้ตลอดเวลา
ต้องมีการตรวจเยี่ยมถี่เพิ่มขึ้นหรือต้องมีการกะประมาณเวลาของการไหลของสารละลาย อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วย
และญาติ ต้องคอยเฝ้าระวังการไหลของสารน้ำ เนื่องจากในระยะแรกต้องมีการให้ในอัตราที่สูงมากเพื่อล้าง
และป้องกันเลือด จากแผลจับตัวเป็นลิ่มเลือด
จากความสำคัญดังกล่าวผู้นำเสนอจึงได้จัดทำนวัตกรรมเครื่องเตือนเปลี่ยนขวดสารละลาย CBI ก่อน
หมดขวด เพื่อความต่อเนื่องในการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาเครื่องเตือนสารละลายสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง “Sound Alarm
Sensor” มีความเที่ยงตรงและไวต่อปริมาณสารละลายที่กำหนด
2. พยาบาลเจ้าของไข้มีความพึงพอใจต่อเครื่องเตือนสารละลายสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบ
ต่อเนื่อง “Sound Alarm Sensor”
3. ไม่เกิดอุบัติการณ์การอุดตันของสายสวนปัสสาวะขณะทำ Continuous Bladder Irrigation
วิธีการศึกษา
เป็นแบบทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตที่เข้ารับการผ่าตัด
ส่องกล้องทางท่อปัสสาวะในหอผู้ป่วยพิเศษศัลยกรรม โรงพยาบาลชลบุรี ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย.66
จำนวน 60 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้เครื่อง Sound Alarm Sensor โดยกำหนดสารละลาย
ให้คงเหลือ 100 ซีซี
วิธีการดำเนินงาน
1.ทบทวนวรรณกรรม 2.ศึกษาสถาณการณ์ 3.ประชุมวางแผนงาน 4.สร้างแนวปฏิบัติ 5. พัฒนา
นวัตกรรมเครื่องเตือนสารละลายสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง “Sound Alarm Sensor” แนวคิด