Page 692 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 692

Q4

                        3. รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะระยะกลางประกอบด้วย 7 ขั้นตอน
                  คือ (1) การลงทะเบียนรับส่งต่อผู้ป่วยจากสถานบริการ/จากชุมชน โดยการตรวจร่างกายและสั่งการบำบัดรักษา
                  โดยแพทย์ (Physical examination and ordering treatment) (2) รับเข้าห้องสหรักษ์ฟื้นฟู พยาบาลวิชาชีพ

                  ประเมินผู้ป่วย/ครอบครัว (Patients/families of assessment) (3) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการผู้ป่วย
                  และญาติรวมทั้งส่งข้อมูลประสานทีมสหสาขาวิชาชีพทางแอพลิเคชั่นไลน์/โทรศัพท์ (Analyze problems and
                  needs of patients and relatives) (4) ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการกำหนดเป้าหมายการดูแลและฟื้นฟู
                  สมรรถภาพ (Care and rehabilitation to set goals) (5) วางแผนการพยาบาลให้สอดคล้องกับเป้าหมายการ

                  ฟื้นฟูสมรรถภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนภาวะแทรกซ้อน และ (Nursing care plan) (6) ประเมินความ
                  พร้อมของผู้ป่วยและครอบครัว ทบทวนการปฏิบัติดูแลตนเองก่อนจำหน่าย จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้อง
                  นำไปใช้ที่บ้าน (ถ้ามี) ประสานงานการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Assess readiness of patients and
                  families) และ (7) จำหน่ายผู้ป่วย (Discharge patients)

                        4. ผลการประเมินรูปแบบการวางแผนจำหน่ายฯ หลังการพัฒนาพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
                  ระยะระยะกลางมีคะแนนความแตกต่างความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (Activities of Daily Living
                  = ADL) เพิ่มขึ้นจาก 14.23 คะแนนเป็น 17.76 คะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.20 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบอัตรา

                  การ Re-Admit ด้วยภาวะแทรกซ้อนภายใน 28 วันในปี พ.ศ.2565 กับผลการดำเนินงานตามโครงการฯ พบว่า
                  ลดลงคิดเป็นร้อยละ 200.0 ดังแสดงในตารางที่ 1

                  ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบร้อยละความแตกต่างของคะแนน Barthel Index ก่อนและหลังการพัฒนา

                                                     N             µ(  )         Percentage differences
                   คะแนน Barthel Index
                   ก่อนการพัฒนา                      21        14.23(±4.96)             +22.20

                   หลังการพัฒนา                      21        17.76(±3.74)
                  ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบอัตราการ Re-Admit ด้วยภาวะแทรกซ้อนภายใน 28 วันระหว่างในปี พ.ศ.2565
                  กับผลการดำเนินงานตามโครงการฯ ปี พ.ศ.2566

                       ปีดำเนินการ พ.ศ.           N           อัตรา Re-Admit            Percentage
                                                                                       differences

                            2565                 66               1(1.52)                -200.0
                            2566                 21              0(0.0%)

                  ข้อเสนอแนะ
                      ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ป่วยและญาติ  (1) การมาตรวจตามนัดอย่างต่อเนื่อง  เนื่องจากโรคสมองขาด

                  เลือดเป็นโรคเรื้อรังต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่ยาวนาน สิ่งที่สำคัญคือ การมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
                  เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรคและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วยและญาติรวมทั้งป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
                  และ(2) การให้ความร่วมมือตามแผนการรักษา  ทั้งนี้ผู้ป่วยและญาติต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตาม
                  แผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง เมื่อเกิดข้อคับข้องใจให้สอบถาม เพื่อการปฏิบัติ

                  ดูแลผู้ป่วยที่บ้านได้ถูกต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาหรือเกิดได้ช้าลง
                      ข้อเสนอแนะสำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล (1) มีการจัดแบ่งหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาโดยต้อง
                  คอยให้คำแนะนำปรึกษาตอบข้อซักถามและนัดผู้ป่วยมารับการรักษาครั้งต่อไปเมื่อแพทย์ได้จำหน่ายผู้ป่วย (2)

                  การจัดเตรียมอุปกรณ์และของเครื่องใช้ต้องจัดเตรียมและตรวจสอบเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมอยู่เสมอ
   687   688   689   690   691   692   693   694   695   696   697