Page 690 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 690
Q2
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา พัฒนารูปแบบและศึกษาผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมองระยะกลาง งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลธวัชบุรี
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง งานผู้ป่วยใน
โรงพยาบาลธวัชบุรี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2566
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยใน ใน
โรงพยาบาลธวัชบุรี ญาติผู้ดูแลและทีมสหวิชาชีพกลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบเจาะจงจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ดังนี้
(1) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางที่มีอายุตั้งแต่ 18 ขึ้นไปมีคะแนน
Barthel Index <19 คะแนน ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Acute stroke) และส่งมารักษา
ต่อเนื่องในหน่วยสหรักษ์ฟื้นฟู ตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลธวัชบุรีในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566
(2) ญาติผู้ดูแลเป็นผู้ดูแลหลักที่บ้านของผู้ป่วยและมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (3) ทีมสหวิชาชีพ จำนวน 18 คน
เป็นแพทย์ 4 คน โภชนากร 1 คน พยาบาลประจำหอผู้ป่วย 7 คนพยาบาลหน่วยเยี่ยมบ้าน2คน เภสัชกร 1คน
และนักกายภาพบำบัด 1 คน ทีมประเมินสุขภาพจิต 1 คน และแพทย์แผนไทย 1 คน ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก
(Key informants) โดยมีเกณฑ์การคัดเข้า ได้แก่ ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Acute
stroke )ที่ผ่านการรักษาในระยะเฉียบพลันและพ้นระยะวิกฤติแล้ว และได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลแม่ข่าย
เพื่อมารับการดูแลในระยะกลาง (IMC) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน บุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่
แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยใน โภชนากร กายภาพบำบัด แพทย์แผนไทย
และพยาบาลทีมเยี่ยมบ้านที่ได้มีส่วนดูแลผู้ป่วย โรงหลอดเลือดสมอง ระยะกลาง และเกณฑ์การคัดออก ได้แก่
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางที่ผ่านระยะ 6 เดือนแล้ว และผู้ป่วยและญาติที่ไม่สมัครใจเข้าร่วม
โครงการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง
(Intermediate care) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบฟอร์มประเมินการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมองโดยใช้ Barthel Index แบบบันทึกการส่งต่อและการติดตาม แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของ
ผู้ป่วยและแบบสอบถามความพึงพอใจ เครื่องมือวิจัยทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย โดยการ
หาความตรงของเครื่องมือ อาศัยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าความเที่ยงจากค่าสัมประสิทธิอัลฟ่า
ของครอนบัค (Cronbach's alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม– เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ผู้วิจัย
ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลธวัชบุรีที่เป็นสถานที่วิจัย เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลในการพิทักษ์สิทธิ์ของ
กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนของการวิจัยแก่ผู้ป่วย ญาติผู้ดูแล พยาบาล และทีมสห
วิชาชีพ การยินยอมหรือปฏิเสธการเข้าร่วมวิจัยได้โดยไม่มีผลใดๆ ข้อมูลที่ได้ถือเป็นความลับและนำเสนอใน
ภาพรวมเท่านั้น ผู้ที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัยให้ลงนามในใบยินยอมในการทำการวิจัยครั้งนี้
ขั้นเตรียมการ โดยศึกษาตำราค้นคว้าจัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ
สถานการณ์เดิมของการวางแผนจำหน่าย ประชุมทีม
ขั้นตอนการปฏิบัติการ ประกอบด้วยกัน 4 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 ระยะที่รับผู้ป่วยที่ได้รับส่งต่อมาจากโรงพยาบาลแม่ข่าย (Hospital visits) โดยกิจกรรมใน
ระยะนี้ประกอบด้วย (1) การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแลเพื่อการวางแผนการ
จำหน่ายอย่างสมบูรณ์ และ (2) วางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแล และบุคลากรทีม