Page 689 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 689

Q1

                       การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง
                        งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลธวัชบุรี (The Development of Discharge Planning

                         Model for Stroke Patients with Intermediate Care in Inpatient Ward at

                                                  Thawatchaburi Hospital)


                                            นางจันทร์เมือง ทะนงยิ่ง, นางรัตนาภรณ์ อุปแก้ว และนางสาวดวงกมล สุขบาล

                                                                   โรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภทวิชาการ



                  ความสำคัญของปัญหา
                        จากสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งโรคสำคัญที่โรงพยาบาลธวัชบุรีได้รับส่งต่อเพื่อดูแลฟื้นฟู
                  ต่อเนื่องจากโรงพยาบาลร้อยเอ็ด พบว่ามีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเข้าสู่ระยะกลาง(Intermediate care)
                  ที่ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาลธวัชบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2565 มีจำนวน 38 ราย, 66 ราย

                  และ 61 ราย และผู้ป่วยดังกล่าวได้รับการดูแลฟื้นฟูและจำหน่ายกลับบ้านปี พ.ศ.2563-2565 พบจำนวน  37
                  ราย (97.37%) 63 ราย (95.45%) และ 60 ราย (98.36%) พบว่า ปี พ.ศ.2563 มีผู้ป่วย Refer โรงพยาบาล
                  ร้อยเอ็ดร้อยเอ็ดด้วย UGIB 1 ราย ปี พ.ศ.2564 Refer 3 ราย Alteration of conscious on ETT-Recurrent
                  stroke = 1-pneumonia on ETT = 1  ปี พ.ศ.2564 มีภาวะแทรกซ้อน Pneumonia 1 ราย ปี พ.ศ.2565

                  Refer 1 ราย Pneumonia with Respiratory failure on ET-tube  ภาวะPneumonia 1 ราย ตามลำดับ
                  และจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่กลับมารักษาซ้ำปี พ.ศ.2563 พบว่า ส่วนใหญ่มาด้วยอาการสำลัก
                  อาหาร หายใจหอบเหนื่อย
                                        1
                      จาการทบทวนเอกสารพบว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดสมองส่งผลให้ความเจ็บป่วยมีความ
                  รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดในวัยผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้ดูแลเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรค
                  หลอดเลือดสมอง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความบกพร่องทางร่างกาย และต้องพึ่งพาผู้ดูแล โดยใน
                  การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีบทบาทหน้าที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ การ
                  ช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน การดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน การดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ การ

                  ดูแลด้านสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพ การเป็นผู้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทีมสุขภาพ และการ
                  ช่วยเหลือด้านการเงิน ตลอดจนการตัดสินใจในการเลือกวิธีในการรักษาให้กับผู้ป่วย ดังนั้น การพัฒนา
                                                                 2
                  ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญ และพบว่า ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแล
                  มีผลต่อการฟื้นหายดีขึ้นของผู้ป่วยระยะหลังเฉียบพลันหรืออาการของโรคคงที่ ผู้ดูแลจะต้องเรียนรู้ทักษะที่
                  ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ เช่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การจัดการให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนนอนหลับ การมี
                  ส่วนร่วมในการ วางแผนจำหน่ายผู้ป่วยร่วมกับบุคลากรในทีมสุขภาพและเรียนรู้วิธีการติดต่อขอความช่วยเหลือ
                  จาก เจ้าหน้าที่โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยต้องจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและเปลี่ยนสถานที่ดูแลไปสู่การดูแลที่

                  บ้าน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางงานผู้ป่วย
                  ใน โรงพยาบาลธวัชบุรีขึ้นเพื่อให้มีแนวทางการดูแลที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ คือ การเตรียมผู้ป่วยหรือผู้ดูแล
                  ให้ครอบคลุม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์สังคม จิตใจ ให้ความช่วยเหลือแนะนำให้มีความพร้อม และสามารถจะนำ
                  สิ่งที่แนะนำไปปฏิบัติตนเองที่บ้านได้ แผนการจำหน่ายผู้ป่วยที่ดี จะทำให้ผู้ป่วยใช้แหล่งประโยชน์ที่มีอยู่อย่าง

                  เต็มที่และต่อเนื่องเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี สาระสำคัญของแผนจำหน่ายผู้ป่วยต้องครอบคลุมเรื่องที่ผู้ป่วย
                  และ/หรือญาติผู้ดูแลควรจะได้รับ และมีความรู้เพื่อให้สามารถดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องได้
   684   685   686   687   688   689   690   691   692   693   694