Page 691 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 691
Q3
สุขภาพที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยการขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ใช้แอปพลิเคชันไลน์ และพูดคุยร่วมกันที่เตียง
ผู้ป่วย (C3THER) หรือTEAM Meeting
ระยะที่ 2 ปฏิบัติตามแผนการจำหน่ายที่วางไว้ เป็นการพยาบาลที่มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความ
ต้องการในการดูแลของผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
ระยะที่ 3 เตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยการทบทวนความรู้ ทักษะการปฏิบัติ กิจวัตร
ประจำวัน การฟื้นฟูสภาพ และปรับปรุงแผนการจำหน่ายภายใน 3 วันในประเด็นที่เป็น ปัญหาการดูแล
ดำเนินการโดยการสอนและสาธิตซ้ำ และบันทึกสรุปประเด็นสำคัญที่ต้องดูแลต่อเนื่อง ในสมุดประจ้าตัว และ
มอบให้ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลภายหลังการจำหน่าย
ระยะที่ 4 การติดตามการประเมินผล
การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยขออนุมัติดำเนินการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการทำวิจัยใน
มนุษย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด COE 74/2566
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางประชากร แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน
ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้ Barthel Index และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการรับบริการของ
ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแล และทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
Percentage difference
ผลการวิจัย
ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้
1. ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด จำนวน 21 คน ส่วนใหญ่เป็นชาย (52.38%) อายุตั้งแต่ 70-79 ปี
(33.33%) โรคประจำตัวเป็นโรคเบาหาวานและความกันโลหิตสูง(47.62%) สาเหตุพยาธิสภาพของสมองเกิด
จาก Ischemic stroke (100.0%) วันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3 วัน(ต่ำสุด 1 วัน สูงสุด 5 วัน) รับส่งต่อจาก
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด (95.0%) รับส่งต่อเพื่อทำกายภาพบำบัด (100.0%) ปัญหาความบกพร่องด้านร่างกายการ
เคลื่อนไหว (95.0%) ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูโดยกายภาพบำบัด (100.0%) ประเมินค่า Barthel Index เพิ่มขึ้น
(95.0%) และการเตรียมอุปกรณ์ให้กลับบ้าน ได้แก่ เตียงนอน จำนวน 1 ราย walker จำนวน 7 รายและไม้เท้า
3 ปุ่ม จำนวน 2 ราย การแก้ปัญหาอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยมีปัญหา โรคซึมเศร้า ระดับเล็กน้อย 3 ราย ให้ยาและให้
คำปรึกษาโดยทีมสุขภาพจิต ผู้ป่วยมีปัญหาที่อยู่อาศัย 1 ราย ไม่มีห้องน้ำใช้เอง ติดต่อญาติรับปากจะสร้าง
ห้องน้ำชักโครกให้ผู้ป่วย ประสาน รพ.สต.ในเขต ติดตามเรื่องการสร้างห้องน้ำให้ผู้ป่วยด้วย ผู้ป่วยหญิงสูงอายุ
อยู่บ้านกับหลานชายคนเดียว หลานชายติดยาเสพติด ประสานชุมชนโดยขอความร่วมมือให้ CG ประจำหมู่บ้าน
ช่วยดูแลต่อเนื่อง ผู้ป่วยชายสูงอายุ บุตรชายผู้ดูแลติดสุราและยาเสพติด ชอบทะเลาะและตบตีผู้ป่วยบ่อยครั้ง
พบขณะอยู่โรงพยาบาล ประสานญาติ ให้บุตรคนอื่นรับผู้ป่วยไปดูแลและสอนญาติฝึกทำอาหารเหลวและให้
อาหารผู้ป่วยทางสายยาง 1 ราย
2. สถานการณ์ปัญหาการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางพบว่า ปัญหาความ
บกพร่องทางร่างกายส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย จำนวน 20 ราย (95.0%) การกลืน 7 ราย
(33.33%) การพูด 8 ราย (38.09%) แขนขาซ้ายอ่อนแรง11 ราย (55.0%) และแขนขาขวาอ่อนแรง 9 ราย
(45.0%) ส่วนกิจกรรมการดูแลที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางพบว่ากายภาพบำบัด 21 ราย (100.0%)
การให้สารน้ำ14 ราย(66.7%) การควบคุมความดันโลหิต 4 ราย (19.04%) การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
2 ราย(9.5%) และให้ยาอื่นๆ 1 ราย (4.8) ตามลำดับ และผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนปี พ.ศ.2564 Refer 3 ราย
Alteration of conscious on ETT-Recurrent stroke = 1 -pneumonia on ETT = 1 ปี พ.ศ.2564 มี
ภาวะแทรกซ้อน Pneumonia 1 ราย ปี พ.ศ.2565 Refer 1 ราย Pneumonia with Respiratory failure on
ET-tube ภาวะPneumonia 1 ราย ตามลำดับ