Page 800 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 800
T26
ผลการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองที่หอผู้ป่วยประคับประคองบุรีรักษ์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์
ชมลภัส กุลสุทธิชัย ,สุกัญญา พาสว่าง
ศูนย์ชีวาภิบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลบุรีรัมย์
จังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภทวิชาการ
ความสําคัญของปัญหา
แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์จะมีความก้าวหน้าไปมากแต่ยังคงมีผู้ป่วยจำนวนมาก
เจ็บป่วยด้วย โรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจายผู้ป่วยที่มีการทำงาน
ของอวัยวะสำคัญล้มเหลว เป็นต้น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลแบบประคับประคองร่วมด้วย โดยมุ่งเน้น
การดูแล แบบองค์รวม ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ซึ่งต้องใช้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีความรู้
เฉพาะทาง เพื่อให้ ผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัวได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่เฉพาะเจาะจงตาม
แผนการรักษา และ ช่วย ลดทรัพยากรที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงในการพยุงชีพที่ไม่ก่อเกิด
ประโยชน์ ดังนั้นหน่วยงาน ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง รพ.บุรีรัมย์ จึงได้จัดตั้ง “หอผู้ป่วยประคับประคองบุ
รีัรักษ์” เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หอผู้ป่วยประคับประคอง รพ.บุรีรัมย์ เริ่มเปิดให้บริการวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 มีเตียงผู้ป่วย 8
เตียง รับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่อวัยวะสำคัญล้มเหลวที่ต้องการดูแลแบบประคับประคอง รวมทั้งกลุ่มผู้ป่วยที่
ต้องการ ถอดถอนเครื่องพยุงชีพในวาระท้ายของชีวิตและเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
วัตถุประสงค์การศึกษา
1.เพื่อศึกษาผลการดำเนินการหอผู้ป่วยประคับประคอง รพ.บุรีรัมย์
2.เพื่อให้มีการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยระยะท้าย
3.เพื่อรองรับการถอดถอนเครื่องพยุงชีพในผู้ป่วยระยะท้าย ตามเจตจำนค์ของผู้ป่วยและครอบครัว
4.เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิงพรรณา แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มารับ
บริการที่หอผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 -31 สิงหาคม พ.ศ.
2566 ใช้แบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง (Palliative performance scale) แบบประเมิน
อาการ ESAS (Edmonton symptom assessment system) แบบสอบถามความพึงพอใจของญาติ โดยใช้
สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัย
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยที่รับบริการที่หอผู้ป่วยประคับประคองทั้งหมดจำนวน 293 คน เป็นผู้ชาย 144 คน ผู้หญิง 149
คน อายุเฉลี่ย 67.68 ปี ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งระยะลุกลาม 210 คน ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งตับและทางเดิน
น้ำดี จำนวน 31 คน ร้อยละ 15 มะเร็งปอด จำนวน 27 คิดเป็นร้อยละ 9.2 ความสามารถในการช่วยเหลือ
ตนเอง (Palliative performance scale) ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับ น้อยกว่า 30 จำนวน 213 ราย ร้อยละ 72
อาการไม่สุขสบายจากแบบประเมิน ESAS ที่พบมากได้แก่ อาการปวด เป็น ร้อยละ 70 อาการหอบ
เหนื่อย ร้อยละ 78 ค่าคะแนนความปวด (Pain score) เฉลี่ยแรกรับ 6.3 คะแนน หลังจากใช้แนวทางปฏิบัติ
จัดการความปวด ประเมินความปวดเฉลี่ยภายใน 72 ชั่วโมง เป็น 3.4 คะแนน ผู้ป่วยเสียชีวิตที่หอผู้ป่วยจำนวน