Page 730 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 730

บทที่ 1 แนวคิดและที่มาการด าเนินงาน


                        1.  เจตนารมณ์หลักและทิศทางตามนโยบายรัฐบาลของการขับเคลื่อนสถานชีวาภิบาล

                 1.1 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ระบบบริการสุขภาพต้องบูรณาการการดูแลแบบประคับประคองเข้าไป
                 เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาตลอดช่วงชีวิต มีความพยายามจัดรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองขึ้น
                 ทั้งในสถานพยาบาลและในชุมชนหลากหลายรูปแบบ โดยสามารถสรุปรูปแบบการดูแลแบบประคับประคอง

                 ในประเทศไทยได้ 4 รูปแบบ คือ 1) การดูแลที่ด าเนินการโดยองค์กรทางศาสนา 2) การดูแลที่บ้าน/การดูแลโดยชุมชน
                 3) การดูแลในโรงพยาบาล และ 4) การดูแลโดยสถานพยาบาลกึ่งบ้าน
                     1.2 ระบบสุขภาพของประเทศไทย มีแนวโน้มอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงและโรคที่คุกคามต่อชีวิตเพิ่มสูงขึ้น
              รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรที่สังคมไทยก าลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยในปี พ.ศ. 2564
              ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20

              ของประชากรทั้งประเทศ และในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) มีประชากร
              อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งภาวะความเจ็บป่วยจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และ
              ภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต ท าให้คาดการสถานการณ์ในอนาคตได้ว่า

              จะมีผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพิ่มมากขึ้น
                     การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ส่งผลให้ความต้องการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย
              ระยะประคับประคองและระยะสุดท้ายมีมากขึ้น ท าให้ประเทศไทยต้องปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
              ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การมีระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือแบบประคับประคอง (Palliative care) เพื่อการสร้างเสริม

              สุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต ผลการวิจัย “พร้อมรับสังคมสูงวัย: วางระบบดูแลผู้ป่วยระยะยาวกับทางเลือกระยะท้าย
              ของชีวิต” ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) ในปี พ.ศ. 2559 คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2560
              และในปี พ.ศ. 2580 หรืออีก 20 ปีข้างหน้า จ านวนผู้สูงอายุและค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
              จะเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองแสนล้านบาท กล่าวคือ จ านวนผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

              จาก 136,677 คน และ 235,301 คน ในปี พ.ศ. 2560 เป็นจ านวน 311,256 คน และ 526,228 คน ในปี พ.ศ.2580
              ส่งผลให้ความต้องการจ านวนผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน จาก 136,677 คน
              และ 117,651 คน ในปี พ.ศ. 2560 เป็นจ านวน 311,256 คน และ 263,114 คน ในปี พ.ศ. 2580 ซึ่งจะมีค่าใช้จ่าย
              โดยรวมในการดูแลเพิ่มขึ้นจาก 59,519 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2560 เป็น 199.717 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2580 และ

              พบว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งภายใต้โครงการสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักการ
              เสียชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่ารักษาพยาบาลเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตเฉลี่ยราว 45,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุดกว่า
              3.4 แสนบาท ในเดือนสุดท้ายของชีวิต แต่หากเป็นการดูแลในเดือนสุดท้ายที่บ้านอย่างมีมาตรฐานที่ผู้ป่วยมั่นใจได้
              ทั้งเรื่องอุปกรณ์ที่จ าเป็น วัสดุสิ้นเปลือง ค่าตอบแทน และการเดินทางของบุคลากรและผู้ดูแล จะมีค่าใช้จ่าย

              ประมาณ 27,000 บาท ซึ่งจะช่วยลดภาระงบประมาณในภาพรวมของประเทศได้
                     1.3 การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) เป็นรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้าน
              ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ส าหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่คุกคามต่อชีวิต ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้นั้น
              การสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย ผ่านกระบวนการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมาน

              จากความเจ็บปวด รวมทั้งการให้ค าแนะน าต่อญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วย ในการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพ
              ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การเตรียมความพร้อมให้กับตนเองในการจัดการภารกิจที่คั่งค้างในจิตใจ มีโอกาส
              ท าความเข้าใจจนเกิดการปลงใจ ท าจิตให้เป็นกุศล ไม่กลัวความตายเพราะเป็นเรื่องธรรมชาติของชีวิต และยังช่วยให้







                                                            [1]
   725   726   727   728   729   730   731   732   733   734   735