Page 734 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 734
ในการดูแลตนเอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ความจ าเสื่อม อุบัติเหตุ รวมถึงผู้สูงอายุ คนพิการ ให้สามารถช่วยเหลือ
ตัวเองได้มากที่สุด ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
3.2 การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) หมายถึง การดูแลผู้ที่มีภาวะจ ากัดการด ารงชีวิต
(Life Limiting Conditions) หรือภาวะคุกคามต่อชีวิต (Life Threatening Conditions) โดยมีจุดประสงค์
เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและบ าบัด เยียวยาและบรรเทา ความทุกข์ทางกาย จิต อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ
ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิต โดยครอบคลุมถึงครอบครัวและผู้มีความสัมพันธ์ของผู้นั้นด้วย
โดยเป็นการดูแลตั้งแต่แรกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหรือภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้และไม่ตอบสนองต่อการรักษา
ซึ่งผู้ป่วยอาจอยู่ได้นานหลายเดือนหรือหลายปีก่อนจะเสียชีวิต เป็นการดูแลระดับพื้นฐาน (Primary Palliative Care)
ซึ่งเป็นการผสมผสานการดูแลแบบประคับประคองกับการดูแลสุขภาพทั่วไป ซึ่งไม่ใช่การดูแลผู้ป่วยในช่วงใกล้
เสียชีวิตเท่านั้น
3.3 การดูแลระยะท้าย (End of life Care) หมายถึง การดูแลผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงที่ต้องดูแลระยะยาว
โดยผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ต้องได้รับการดูแลประคับประคอง/ระยะท้าย จะได้รับการดูแลที่สถานชีวาภิบาล ที่วัด
หรือสถานปฏิบัติธรรม โดยลักษณะการดูแลเป็นแบบไป - กลับ หรือพักค้างแบบก าหนดระยะเวลา หรือพักค้างระยะ
ยาวที่มีคุณภาพมาตรฐาน ครอบคลุมการบริการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้ความ
ร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ/ท้องถิ่น และภาคเอกชน
3.4 การวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) หมายถึง กระบวนการพิจารณา
แผนการดูแลสุขภาพจากเครือข่ายภาคประชาชน องค์กรเอกชน ร่วมกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ที่ท าไว้ก่อนที่ผู้ป่วย
จะหมดความสามารถในการตัดสินใจหรือเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต อาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ โดยอาจจะใช้
กระบวนการสนทนาปรึกษาร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และทีมบุคลากรสุขภาพ หรือผู้ป่วยอาจท าได้ด้วย
ตนเอง หรือปรึกษาสมาชิกครอบครัว หรือปรึกษาบุคลากรสุขภาพ
3.5 สถานชีวาภิบาลในชุมชน หมายถึง สถานที่ให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง และการดูแลประคับประคอง/
ระยะท้าย (long-term care and palliative care facility) ที่อยู่ในชุมชน มีมาตรฐานด้านสถานที่ ด้านความ
ปลอดภัย และด้านบริการตามมาตรฐานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กรมอนามัย หรือหน่วยงานในสังกัด
กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี
อ านาจหน้าที่ในการก ากับดูแล ทั้งนี้อาจแบ่งรูปแบบการให้บริการ เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) บริการระหว่างวัน โดยไม่พักค้างคืน (day care)
2) บริการโดยให้พักค้างคืน
อาจเป็นสถานประกอบการของรัฐ ท้องถิ่น เอกชน องค์กรศาสนาหรือองค์กรอื่น ๆ โดยสถานชีวาภิบาล
ควรได้รับการรับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กรมอนามัย หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอ านาจหน้าที่ในการก ากับดูแลมีศักยภาพการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง
ผู้ป่วยระยะประคับประคอง/ระยะท้าย และ/หรือ มีระบบบริหารจัดการผู้ดูแล (caregiver) ส าหรับผู้ที่ต้องการการ
ดูแลที่บ้านได้ (home care) ทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาภาระครอบครัว โดยมีกลไกการก ากับดูแล โดยกรมสนับสนุนบริการ
สุขภาพ หรือ กรมอนามัย หรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอ านาจหน้าที่ในการก ากับดูแล
3.6 ศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาล หมายถึง ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างระบบชีวาภิบาลในโรงพยาบาล โดยบูรณา
การระบบริการดูแลผู้สูงอายุ (elderly care) การดูแลระยะยาว (long-term care) การดูแลประคับประคอง/ระยะ
[5]