Page 731 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 731
ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะท าได้ ในเวลาที่เหลืออยู่จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และเสียชีวิต
1
อย่างสงบท่ามกลางญาติอันเป็นที่รัก
จากหลักการดังกล่าว ท าให้การดูแลแบบประคับประคอง หรือการตายตามธรรมชาติ สอดคล้องกับหลัก
ปฏิบัติของทุกศาสนา เนื่องจากการดูแลแบบประคับประคองโดยเนื้อแท้ คือการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ใกล้ตายให้จากไป
อย่างสงบ จากไปอย่างเข้าถึงแก่นความเชื่อและความศรัทธาที่มีหลักยึด ซึ่งแสดงถึงความเมตตากรุณาที่มีอยู่ในจิตใจ
มนุษย์ การเคารพศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ การมีสุขภาพทางปัญญาที่พร้อมและเอื้อประโยชน์ต่อผู้อื่น
1.4 นโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยยกระดับระบบบริการสุขภาพด้วย
เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างระบบสาธารณสุขที่เหมาะสมส าหรับทุกคนบนแผ่นดินไทย มุ่งเน้นการสร้าง
และพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพในระยะยาวให้เกิดความเท่าเทียม
เป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน โดยมีหนึ่งในประเด็นส าคัญเร่งด่วนตามนโยบายยกระดับ 30 บาท
ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งในและนอกระบบสาธารณสุข คือ “การขับเคลื่อนสถานชีวาภิบาล” เพื่อ
ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ตั้งแต่ระยะแรกจนถึง
วาระสุดท้ายของชีวิต ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการที่มีมาตรฐานมากขึ้น เพิ่มคุณภาพชีวิต ลดภาระค่าเดินทาง ลด
ความกังวลครอบครัว ลดระยะเวลารอคอยในโรงพยาบาล โดยสนับสนุนการสร้างระบบชีวาภิบาล ในทุกโรงพยาบาล
สนับสนุนกลไกบริการที่บ้านและชุมชน รวมทั้งการจัดตั้งสถานชีวาภิบาลในชุมชน องค์กรพระพุทธศาสนา ทั้งในวัด หรือ
ส านักปฏิบัติธรรม หรือองค์กรทางศาสนาอื่น เพื่อเป็นทางเลือกส าหรับผู้ป่วยที่เป็นพระภิกษุอาพาธ หรือผู้สูงอายุที่มี
ภาวะพึ่งพิง หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่อยู่ในระยะประคับประคองและระยะท้ายของชีวิต สามารถเข้าถึงบริการและ
ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
การสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาชน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบสุขภาพ โดยการร่วมจัดบริการการดูแล
แบบประคับประคองและระยะท้าย เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพในระดับสากล โดยมีบุคลากร
ด้านสุขภาพเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดคุณภาพในการให้บริการ อย่างเป็นระบบ มีการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชากรกลุ่มเป้าหมาย
2. นโยบาย กฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
2.1 มาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการตาย (Quality of death index)
จากการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการดูแลระยะประคับประคองและ
ระยะสุดท้ายของชีวิตในระดับสากล พบว่า การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองและระยะท้าย
เป็นกระบวนการดูแลสุขภาพ 4 มิติ ได้แก่ การดูแลทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อให้ผู้สูงอายุ
และผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าที่สภาพร่างกายและการด าเนินไปของโรคจะเอื้ออ านวยและเสียชีวิตอย่างสงบ
2
โดยปราศจากความทุกข์ทรมาน ซึ่งสอดคล้องกับค านิยามสุขภาพ 4 มิติ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
3, 4
1) กฎบัตรปราก
ความปวดหรือความทุกข์ทรมานจากโรค (หรืออาการ) ถือเป็นปัญหาส าคัญที่สุดในการดูแลผู้ป่วย
หรือผู้สูงอายุการปล่อยให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเจ็บปวดทุกข์ทรมานในช่วงระยะสุดท้ายของชีวิตถือเป็นการละเมิดสิทธิ
1 เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ และคณะ, (2556). การแบ่งปันประสบการณ์การดูแลแบบประคับประคองส าหรับผู้ป่วยระยะท้าย.
2 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
3 กฎบัตรปรากเป็นกฎบัตรที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานที่ส าคัญในเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง อันได้แก่ The European Association for Palliative
Care (EAPC) The International Association for Hospice and Palliative Care (IAHPC) The Worldwide Palliative Care Alliance (WPCA) Human Rights
Watch (HRW) และ The Union forInternational Cancer Control (UICC)
4 Lukas Radbruch and author, ‘The Prague Charter: Urging governments to relieve suffering and ensure the right to palliative care’ (2012),
Palliative Medicine <https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/0269216312473058> accessed 20 July 2022.
[2]