Page 3 - แนวทางการจัดบริการโรงพยาบาลสนามวัคซีน
P. 3
ค ำน ำ
สถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มแพร่เข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่ต้นเดือน
มกราคม พ.ศ. 2563 และได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
เพื่อควบคุมและประเมินสถานการณ์ แต่ยังคงมีการระบาดในกรุงเทพและกระจายไปในจังหวัดต่าง ๆ
ทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการระบาดอยู่เป็นระยะเวลานาน ด้วยยุทธศาสตร์
ที่ประเทศไทยมีความพยายามในการควบคุมการระบาดให้ดีที่สุด โดยการจัดบริการวัคซีน
ให้มีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับวัคซีนจ น ถึงระดับที่ท าให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
(Herd immunity) และสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในกลุ่มบุคคล
ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561
มีเป้าประสงค์ส าคัญในการให้ทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยเข้าถึงวัคซีนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน
เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กองบริหารการสาธารณสุข ได้จัดท าแนวทางการจัดบริการโรงพยาบาลสนามวัคซีน
เพื่อน าไปใช้ในการบริหารจัดการระบบการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในกรณีผู้เข้ารับวัคซีนมีจ านวนมาก
ก่อให้เกิดความแออัดในสถานบริการ รูปแบบของ “โรงพยาบาลสนามเพื่อการฉีดวัคซีนโควิด 19”
ซึ่งเป็นการจัดระบบการให้บริการนอกโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดความครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
รวมถึงการติดตาม ดูแลผู้รับวัคซีนที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังจากได้รับวัคซีนโควิด 19
คณะผู้จัดท าได้ยึดแนวปฏิบัติหลักการด าเนินงานของสถาบันบ าราศนราดูร และถอดบทเรียนจังหวัด
น าร่องที่มีการด าเนินการดังกล่าว ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดชลบุรี มาประยุกต์
ในการจัดท าเนื้อหาการจัดบริการโรงพยาบาลสนามวัคซีน ทั้งนี้ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญที่ให้ค าชี้แนะ
รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้ปฏิบัติในสถานบริการทุกระดับ มา ณ โอกาสนี้
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถน า “แนวทางการจัดบริการ
โรงพยาบาลสนามวัคซีน” ฉบับนี้ ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในพื้นที่ให้เกิด
ประโยชน์ ต่อประชาชนและหน่วยงาน ต่อไป
คณะผู้จัดท า
แนวทางการจัดบริการโรงพยาบาลสนามวัคซีน ก