Page 10 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 10
บทที่ 2
ทบทวนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวัย
การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความมั่นคง
ในชีวิต และมีครอบครัวที่เข้มแข็ง อบอุ่น โดยส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด/ปฐมวัยให้เหมาะสมกับพัฒนาการ
รวมทั้งเพิ่มคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยในศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก ส่งเสริมเด็กวัยเรียน กลุ่มเสี่ยง
ให้สามารถจบการศึกษาภาคบังคับและมีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ส่งเสริมเด็กวัยรุ่น/นักศึกษาให้มีทักษะ
ชีวิตและทักษะการทำงาน มีภูมิคุ้มกันพร้อมสู่การเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนา
ศักยภาพแรงงานคนพิการ สนับสนุนแรงงานนอกระบบเข้าสู่ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายประกันสังคม
ตลอดจนเสริมสร้างความอบอุ่นในครอบครัว และความมั่นคงในชีวิตผู้สูงอายุ
กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพคนไทยทั้งประเทศ การดำเนินงานรองรับยุทธศาสตร์ชาติ
20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เรื่องการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของประชากรไทยทุกช่วงวัยเป็นปัจจัย
ท้าทายสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากร
วัยแรงงานและวัยเด็กที่ลดลงและประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปัญหาในการพัฒนาประเทศไทย
การพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัย ให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน
การพัฒนาประเทศสู่การเป็นประเทศเป็นประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย (0 – 5 ปี)
เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เด็กที่มีคุณภาพจะต้องเป็นเด็กที่มี
การเจริญเติบโต และพัฒนาการสมบูรณ์ทุกด้านตามวัย การอบรมเลี้ยงดูและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กได้รับ
ในช่วงวัยนี้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กเป็นอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนการลงทุนทางสังคมเพื่ออนาคตซึ่งให้
ผลตอบแทนสูง สุขภาพเด็กแรกเกิดถึง ช่วงอายุ 5 ปี เป็นช่วงที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยในระยะเวลา
ดังกล่าวเด็กจะมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งมีพัฒนาการด้านสมองสูงร้อยละ 80
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ และยังเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการสร้างรากฐานและคุณภาพชีวิต พัฒนาการเด็กมี
การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นับตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์จนกระทั่งคลอดและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการ
เปลี่ยนแปลงมีทั้งด้านร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม โดยเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตของร่างกาย
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
การจำแนกพัฒนาการของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา
อารมณ์ และสังคม ดังนี้
1) พัฒนาการด้านร่างกาย (Physical Development)
2) พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) และพัฒนาการด้านภาษา (Language
Development)
3) พัฒนาการด้านอารมณ์ (Emotional Development)
4) พัฒนาการด้านสังคม (Social Development) และคุณธรรม (Moral Development)
6