Page 11 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 11
การมีพัฒนาการล่าช้าไม่สมวัยเรื่อง สุขภาวะคุณภาพการศึกษาและโอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของเด็กในประเทศไทยยังพบว่ามีสุขภาวะต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นภาวะผอม เตี้ย หรืออ้วนเกินมาตรฐาน
ที่กำหนดโดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านอารมณ์และสติปัญญา
และโอกาสในการได้รับการศึกษา ตลอดจนโอกาสในการเลี้ยงชีพและสร้างรายได้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ในระยะยาว
จากข้อมูลสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัยของกรมอนามัยพบว่า มารดาตายเพิ่มขึ้น แต่พัฒนาการสมวัยลดลง
อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคนเพิ่มขึ้นจาก 19.98 ในปี พ.ศ. 2562 เป็น 39.8 ในปี
พ.ศ. 2564 โดยเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 16 คน (1 ธันวาคม 2563 - 31 มีนาคม 2565)
เด็ก 0 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ 87.41 ในปี พ.ศ. 2562 เป็น ร้อยละ 84.5 ในปี พ.ศ. 2564
สำหรับพัฒนาการด้านสูงดีสมส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 58 ในปี พ.ศ. 2562 เป็นร้อยละ 62.6 ในปี
พ.ศ. 2564 ในส่วนของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในปี พ.ศ. 2561 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และเครือข่ายได้ร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยง
ลูกด้วยนมแม่ ภายใต้คำขวัญ "นมแม่คือรากฐานแห่งชีวิต” Breastfeeding : Foundation of Life และมี
นโยบายที่จะส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องให้เด็กทุกคนได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ ตามคำแนะนำขององค์การ
อนามัยโลก คือ กินนมแม่ตั้งแต่ 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด กินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
และกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่อาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้นหรือตามสูตร 1-6-2 ซึ่งข้อมูลจาก
การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การทุน
เพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2559 พบว่า มีทารกไทยเพียงร้อยละ 40 ได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมง
แรกหลังคลอด และเพียงร้อยละ 23 ที่ได้กินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น มีทารก
เพียงร้อยละ 13 ที่ได้กินนมแม่ต่อเนื่องถึง 2 ปี กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายจึงได้ตั้งเป้าหมายในปี พ.ศ. 2568
ให้ทารกอย่างน้อยร้อยละ 50 ได้กินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน สอดคล้องตามเป้าหมายของทุกประเทศทั่วโลก
การช่วยเหลือเด็กและสตรี รัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม (One Stop Crisis Center: OSCC)
โดยการบูรณาการงานตามนโยบาย OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคมกับงานศูนย์พึ่งได้ กำหนดให้หน่วยงานใน
๔ กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน และได้ดำเนินการจัดทำแนวทาง/ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา
๔ กลุ่มเป้าหมายหลัก ประชุมชี้แจงนโยบายและจัดอบรมในเรื่องขั้นตอนการช่วยเหลือ และการบันทึกข้อมูล
ในโปรแกรม OSCC Application ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการในส่วนพัฒนางานศูนย์พึ่งได้และงานตามนโยบาย OSCC
ศูนย์ช่วยเหลือสังคมให้มีความเข้มแข็ง จัดทำคู่มือการช่วยเหลือผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมของศูนย์พึ่งได้
การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาในเรื่องการลงข้อมูลในโปรแกรม OSCC Application และการส่งต่อผู้ประสบ
ปัญหาเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา
7