Page 14 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 14
กลุ่มวัยทำงาน (15 - 59 ปี)
ประเทศไทยแม้จะยังอยู่ในช่วงของการได้เปรียบทางประชากร คือ มีวัยแรงงาน (15 - 59 ปี) ซึ่งเป็น
วัยที่ก่อให้เกิดผลผลิตทางด้านเศรษฐกิจ และมีส่วนสำคัญต่อฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ ในสัดส่วนที่สูง
กว่าวัยอื่นๆ (ร้อยละ 67) แต่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนวัยทำงานนี้จะค่อยๆ ลดลงจากอัตราการเกิดที่ลดลง และการ
ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว กลุ่มวัยทำงานมีความสำคัญต่อการพัฒนาครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
มีบทบาทเป็นทั้งผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นผู้นำครอบครัว และต้องดูแลประชากรกลุ่มวัยต่าง ๆ
ในครอบครัว ดังนั้นหากประชากรในวัยทำงานเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ตามปกติแล้วผลกระทบนั้นจะไม่ได้จำกัดอยู่ในระดับบุคคลเท่านั้นแต่ยังกระทบต่อครอบครัวสังคม และ
ประเทศชาติอีกด้วย
จากข้อมูลสุขภาพวัยทำงานของกรมอนามัยพบว่า โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยอันดับหนึ่ง คือ
โรคมะเร็ง รองลงมา คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน ปัญหาที่สำคัญของกลุ่มวัยทำงานด้านการ
ส่งเสริมสุขภาพ เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดโรคมาจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ
ที่สำคัญ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกกำลังกาย เป็นต้น อีกทั้งประชาชนวัยทำงานอายุ
30 – 44 ปี มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ร้อยละ 47.94 ในปี พ.ศ. 2564 และวัยทำงานมีการตรวจคัดกรอง
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็งเต้านม เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประชากรวัยทำงานมีความเสี่ยงทางสุขภาพ
จากโรคอ้วนที่เกิดจากการขาดการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป โรคเรื้อรัง
เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาจากโรคอ้วน โรคจากการดื่ม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่นำไปสู่การเกิดมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดเลือดสมอง และ
เสื่อมสมรรถนะภาพทางเพศ โรคเครียดเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซึ่งมีสาเหตุมาจากเรื่องเงินและงาน โรคเอดส์เกิด
จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและการใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นโรคจาการประกอบอาชีพ และ
อุบัติเหตุทางถนนเนื่องจากการเมาแล้วขับและการขับรถเร็ว
สำหรับกลุ่มสตรีในช่วงวัยนี้ ยังได้แบ่งออกเป็น กลุ่มวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15 - 44 ปี และกลุ่มวัยหลัง
เจริญพันธุ์อายุ 45 - 59 ปี ซึ่งจะต้องมีการดูแลส่งเสริมสุขภาพที่แตกต่างกัน ในรายละเอียด อันเนื่องจากการ
เปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกาย ตามวัย โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มนี้ ก็เพื่อให้ประชากรวัย
ทำงานมีความรู้ และพฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้อง ทั้งในครอบครัว ชุมชน และในสถานประกอบการ มีสุขภาพดี
ตามมาตรฐาน และมีพฤติกรรมด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ถูกต้อง สตรีมีบัตรเมื่ออายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี การรับ
บริการวางแผนครอบครัวตามความเหมาะสม ได้แก่ ห่วงอนามัย ยาเม็ดคุมกำเนิด การทำหมันชาย/หญิง ยาฉีด
คุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย เป็นต้น รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้านอื่น ได้แก่ ภาวะ
โภชนาการ การออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพฟัน เป็นต้น สภาพปัญหา การกระจายตัวของปัญหา สาเหตุ
และความรุนแรงในประเด็นสำคัญต่างๆ ได้สะท้อนสถานการณ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ของประชากรวัยทำงาน
อายุ 15 - 60 ปี ได้แก่ 1) ภาวะการเจ็บป่วยและตาย 2) ภาวะอุบัติเหตุ 3) ภาวะการสูบบุหรี่ 4) ภาวะ
น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน 5) ภาวะทันตสุขภาพ 6) โรคเอดส์ สำหรับโรคไม่ติดต่อ อุบัติเหตุจราจรและปัญหา
ทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของประชาชนวัยทำงานมากขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม
ของคนกลุ่มนี้ สำหรับเพศชาย ได้แก่ การเสพติดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อุบัติเหตุทางถนนและโรคจิตเภท
10