Page 13 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 13

ส่งผลให้เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้งหรือเติบโตมาอย่างไม่มีคุณภาพ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงเข้ามาร่วมกัน
                  ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง (ที่มา: ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
                  ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

                  พ.ศ. ๒๕๕๙, 2560)
                        จากสถิติสาธารณสุขพบว่า วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดบุตรเพิ่มขึ้นจากประมาณ 95,000 คน ในปี พ.ศ.
                  2546  เป็นประมาณ 104,300 คน ในปี พ.ศ. 2558 ในจำนวนนี้เป็นการคลอดบุตรโดยวัยรุ่นที่มีอายุน้อย คือ
                  อายุต่ำกว่า 15 ปีประมาณปีละ 3,000 คน นอกจากนั้น วัยรุ่นอายุ 10 - 19 ปี ที่คลอดบุตรซ้ำหรือคลอดเป็นครั้ง

                  ที่สองขึ้นไปมีมากถึง 12,700 คน หรือเท่ากับร้อยละ 12.2 ของการคลอดในวัยรุ่น อายุ 10 - 19 ปีทั้งหมด
                  ผลกระทบทางสุขภาพจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น การเสียชีวิตของมารดา การเสียชีวิตของทารก เด็กแรกเกิด
                  น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ ยังทำให้เสีย
                  โอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต การขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้เด็ก

                  จำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง หรือเติบโตมาอย่างไม่มีคุณภาพ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงเข้ามาร่วมกันดำเนินงานป้องกัน
                  และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง (ที่มา: ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ.
                  2560 - 2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.๒๕๕๙, 2560)
                  นอกจากนี้อัตราการคลอดมีชีพต่อพันประชากรหญิง อายุ 15 – 19 ปี ลดลงจาก 31.3 ต่อพันประชากรหญิง

                  อายุ 15 – 19 ปี ในปี พ.ศ. 2562 เหลือ 24.24 ต่อพันประชากรหญิงอายุ 15 – 19 ปี ในปี พ.ศ. 2565
                         การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงานรวมทั้งรายได้ในอนาคต จากการ
                  สำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2556 พบว่าร้อยละ 32 ของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ต้องออกจาก

                  การศึกษา ซึ่งการตั้งครรภ์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องหยุดเรียน และข้อมูลจากสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา
                  รายงานการเพิ่มขึ้นของอัตราการออกจากโรงเรียนกลางคันของนักเรียนด้วยเหตุสมรสในระหว่างปีการศึกษา
                  2548 - 2555 โดยกลุ่มนักเรียนประถมศึกษามีอัตราการออกจากโรงเรียนกลางคันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9
                  เป็น 2.7 กลุ่มมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มจากร้อยละ 5.1 เป็น 6.2 และกลุ่มมัธยมตอนปลายเพิ่มจากร้อยละ 4.2 เป็น
                  6.5 และในปี พ.ศ. 2557 พบว่า เยาวชนอายุ 15 - 24 ปี มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่และเสพสารเสพติด

                         กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายลดปัญหาท้องวัยรุ่น โดยขับเคลื่อนการ
                  ดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญที่หลาย
                  ประเทศเผชิญอยู่ องค์การสหประชาชาติจึงกำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่น เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมาย

                  การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและมีสุขภาวะที่ดี ทุกเพศ ทุกวัย ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งการ
                  ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทย ได้มีพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา
                  การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เพื่อคุ้มครองสิทธิอนามัยการ
                  เจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่ สิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง สิทธิได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ การได้รับการ

                  บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่าง
                  เสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ที่จำเป็นต้องอาศัยหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมร่วมกัน
                  ขับเคลื่อน การดำเนินงานตามกฎหมายฉบับนี้ เพื่อบูรณาการให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
                  ในวัยรุ่นเป็นรูปธรรมมีความเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น







                                                                                                          9
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18