Page 12 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 12

กลุ่มวัยเรียนวัยรุ่น (6 - 19 ปี)


                         เด็กวัยเรียนคืออนาคตสำคัญของชาติ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
                  และเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน ซึ่งพบภาวะ
                  เตี้ย ภาวะอ้วน ภาวะผอม และภาวะซีด ทั้งนี้ ภาวะเตี้ยมีสาเหตุมาจากการขาดอาหารเรื้อรัง ทำให้เด็กเตี้ย
                  แคระแกร็น ภูมิต้านทานโรคต่ำ เจ็บป่วยบ่อยและมีสติปัญญาต่ำ แตกต่างจากปัญหาภาวะอ้วนที่มีสาเหตุมาจาก

                  พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มากเกินความต้องการของร่างกาย มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ มีผลนำไปสู่การ
                  เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Chronic Diseases : NCDs) ปัญหาสุขภาพช่องปากของเด็ก
                  วัยเรียนก็เช่นเดียวกัน หากเด็กกินอาหารที่มีรสหวานเป็นประจำและแปรงฟันไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดฟันผุได้
                         ปี 2558 นโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมคือการปรับลดเวลาเรียนภาค

                  วิชาการของนักเรียนให้น้อยลงโดยไม่กระทบเนื้อหาหลักที่นักเรียนควรเรียนรู้และโรงเรียนยังคงเลิกเรียนตาม
                  กำหนดเวลาเดิมดังนั้น ระยะเวลาหลังเลิกเรียนภาควิชาการ ถึงเวลาที่นักเรียนจะกลับบ้าน โรงเรียนต้องจัด
                  กิจกรรมสร้างสรรค์และกระตุ้นให้นักเรียนเกิดทักษะที่จำเป็น ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้าน
                  สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยีทักษะการทำงาน และทักษะชีวิตที่ใช้ได้จริงกับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และ

                  ประเทศชาติเพื่อให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวง
                  สาธารณสุขสนับสนุนนโยบาย“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”เนื่องจากเป็นโอกาสดีในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพ
                  ที่เหมาะสมหลากหลายเรื่องแก่นักเรียน จึงจัดทำเอกสารแนวทางการดำเนินงานนโยบาย“ลดเวลาเรียน

                  เพิ่มเวลารู้”ด้านสุขภาพ เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขทุกระดับเกิดความเข้าใจและสามารถสนับสนุนหน่วยงาน
                  การศึกษาในการดำเนินงานและจัดกิจกรรมสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีทักษะสุขภาพและทักษะ
                  ชีวิตที่นำไปสู่พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และเติบโตเป็นวัยทำงานที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
                         จากข้อมูลสุขภาพเด็กวัยเรียนของกรมอนามัยพบว่า เด็กวัยเรียน IQ ดีขึ้น  ผลการสำรวจสถานการณ์ระดับ
                  สติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ. 2564 พบว่า

                  มีระดับสติปัญญา (ไอคิว) เฉลี่ยเท่ากับ 102.8 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติและผ่านตามเป้าหมายของแผนพัฒนา
                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้เด็กไทยมีไอคิวไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 เมื่อ
                  เปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2559 พบว่า มีไอคิวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 4.5 จุด และเด็กที่ไอคิวต่ำกว่า 90 ลดลงจาก

                  ร้อยละ 31.8 เป็นร้อยละ 21.7 อย่างไรก็ตาม ยังมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีไอคิวในเกณฑ์บกพร่อง
                  ต่ำกว่า 70 อยู่ถึงร้อยละ 4.2 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานสากลคือไม่ควรเกิน ร้อยละ 2 นอกจากนี้เด็กอายุ 6 – 14 ปี
                  สูงดีสมส่วน ลดลงจาก ร้อยละ 61.5 ในปี พ.ศ. 2562 เป็นร้อยละ 59.6 ในปี พ.ศ. 2564 สำหรับสุขภาพฟัน
                  ในเด็กไทยกลุ่มอายุ 12 ปี ที่ได้รับการตรวจ พบว่า ฟันดีไม่มีผุคงที่อยู่ร้อยละ 70 ในปี พ.ศ. 2564

                         เด็กวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพและอุบัติเหตุ จากข้อมูลการสำรวจของ
                  สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น การตั้งครรภ์
                  ในกลุ่มวัยรุ่นยังเป็นปัญหาและมีความรุนแรงมากขึ้นในสังคมไทย ส่งผลให้เด็กที่เกิดมีพัฒนาการไม่สมวัย และมี
                  โอกาสสูงที่จะกลายเป็นเด็กด้อยโอกาสหรือถูกทอดทิ้ง กลายเป็นปัญหาสังคมตามมา จากข้อมูลกระทรวง

                  สาธารณสุขและรายงานของ UN ระบุว่า อัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15 - 19 ปียังสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ
                  องค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ ร้อยละ 10 ซึ่งผลกระทบทางสุขภาพอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และยังทำให้เสีย
                  โอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต การขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร



             8
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17