Page 49 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 49
บทที่ 4
แผนปฏิบัติราชการบริหารการสาธารณสุขเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาบริการสุขภาพตามกลุ่มวัย
(พ.ศ. 256๖ – 25๗๐)
วิสัยทัศน์ (Vision)
“ระบบบริการสุขภาพทุกกลุ่มวัยมีคุณภาพระดับสากล ทันสมัย ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง
มีความตื่นตัว รอบรู้ทางสุขภาพ ประเทศไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางสุขภาพในทุกกลุ่มวัยที่ดีขึ้นทั่วทั้งประเทศ ”
โดยกำหนดนิยามของวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้
ระบบบริการสุขภาพทุกกลุ่มวัยมีคุณภาพระดับสากล ทันสมัย หมายถึง นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน การจัดสรร
ทรัพยากร เพื่อการจัดการสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย มีเอกภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งในและนอกระบบ
สาธารณสุข มีกฎหมาย และระเบียบรองรับการปฏิบัติงานที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและทิศทางการ
พัฒนาประเทศ ระบบบริการสุขภาพในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ มีคุณภาพ มาตรฐานสากล และทันสมัย บุคลากร
ทางการแพทย์ และสาธารณสุขเพียงพอ และเชี่ยวชาญในการจัดบริการสุขภาพตามความต้องการด้านสุขภาวะของแต่
ละกลุ่มวัย และมีนวัตกรรม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ทันสมัย ในการจัดบริการสุขภาพเพื่อการยกระดับระบบบริการ
สุขภาพในทุกกลุ่มวัยของประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพและความจำเป็นในอนาคตตามยุทธศาสตร์การพัฒนา
ประเทศ และความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกอย่างเท่าทัน
ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง หมายถึง ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการบริการทางสุขภาพ
ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาโรค และการคุ้มครองผู้บริโภค ด้วยความสะดวก ทันสมัย ทั่วถึง
ไม่เหลื่อมล้ำ ลดต้นทุนในการเข้าถึงบริการ ทั่วทุกพื้นที่มีความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายสุขภาพอย่างมีพันธะสัญญา และ
มีเอกภาพในการขับเคลื่อนภารกิจประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาวะที่ดี
มีความรอบรู้ทางสุขภาพ หมายถึง ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีความรอบรู้ทางสุขภาพที่สามารถจัดการสุขภาพตนเอง ครอบครัว
ชุมชน ได้อย่างเท่าทัน มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ สามารถลดโรคที่ป้องกันได้ บ่มเพาะจิตสำนึกการมีสุขภาพดี
สร้างสังคมที่เข้มแข็ง มีสภาพแวดล้อมทางกายของครอบครัว และชุมชน เอื้อต่อการยกระดับสุขภาวะของประชาชน
ทุกกลุ่มวัย
36