Page 50 - เล่มกลุ่มวัย 5 ปี 66-70 ver.6 160666 Edit
P. 50

ผลสัมฤทธิ์ทางสุขภาพในทุกกลุ่มวัยที่ดีขึ้นทั่วทั้งประเทศ หมายถึง การเพิ่มประชาการสุขภาพดี การลดปัญหาสุขภาพทั้ง
               การเจ็บป่วย การป่วยตายในโรคที่สำคัญของประเทศลดลงทุกกลุ่มวัย
                   -  แม่และเด็ก เน้นด้านการลดปัญหาแม่ลูกตาย พัฒนาการเด็กที่สมวัยมีสติปัญญา และอารมณ์ตามเกณฑ์
                   -  วัยเรียน วัยรุ่นเน้นการเพิ่มวินัยสุขภาพด้านการออกกำลังกาย การได้รับโภชนาการดี และการลดลงของปัญหา
                       การใช้สารเสพติด

                   -  วัยทำงาน เน้นการลดลงของการบาดเจ็บจากการทำงาน โรคมะเร็ง การลดลงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
                       เพื่อการเตรียมพร้อมสู่ผู้สูงอายุสุขภาพดี
                   -  วัยสูงอายุ เน้นการลดลงของการเจ็บป่วยป่วยตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม

                       และโรคสมองเสื่อม

               พันธกิจ (Mission)
                   ๑)  กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ กลไก แผนงาน เพื่อบูรณาการการพัฒนาระบบสุขภาพแก่ประชาชน

                      ทุกกลุ่มวัย ให้มีเอกภาพ และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับความจำเป็นทิศทางของ
                      ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และความจำเป็นทางสุขภาพและสถานการณ์ปัญหาสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย และ
                      ความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
                   ๒)  พัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพในกลุ่มแม่และเด็ก วัยเรียนวัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอายุ ในหน่วยบริการสุขภาพ

                      ทุกระดับ ให้มีคุณภาพ สามารถจัดบริการได้อย่างมีมาตรฐาน ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพการป้องกัน
                      และควบคุมโรค การรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยบริการมีความพร้อม เป็นเลิศ
                      ในการจัดบริการสุขภาพ และมีแนวปฏิบัติที่ดีในการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย
                   ๓)  สร้างกลไก และระบบการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วม มีพันธะสัญญาที่เข้มแข็ง ระดมพลังภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วน

                      ทุกระดับ และเพิ่มศักยภาพเครือข่ายในการเสริมสร้างการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนทุกกลุ่มวัย
                   ๔)  ยกระดับขีดความสามารถของประชาชนทุกกลุ่มวัย ให้มีความรอบรู้ ด้านสุขภาพสามารถดูแลตนเอง ครอบครัว
                      และชุมชน มีความตระหนัก และเห็นคุณค่าของการมีสุขภาวะที่ดี จนเกิดเป็นค่านิยมทางสุขภาพส่วนบุคคล

                      และวัฒนธรรมสุขภาพของสังคม
                   ๕)  พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากร การจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม
                      เพื่อการจัดการระบบสุขภาพในประชาชนทุกกลุ่มวัย อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความทันสมัย
                      ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เสริมสร้างความสุขและความภาคภูมิใจแก่บุคลากร











                                                                                                              37
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55