Page 14 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 14

โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567



                                     ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน :
                       การศึกษาในผู้ป่วยฉุกเฉินที่ส่งต่อจากคลินิกหมอครอบครัวไปยังโรงพยาบาลตรัง


                                                                                  แพทย์หญิงกรกนก ก่อวุฒิกุลรังสี
                                                                            กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลตรัง
                                                                                     จังหวัดตรัง เขตสุขภาพที่ 12


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         การส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยบริการปฐมภูมิไปยังหน่วยบริการตติยภูมินั้นมีความสำคัญในระบบ

                  สาธารณสุข โรงพยาบาลตรังมีนโยบายเพื่อลดความแออัดของการรับบริการตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2566
                  ประกอบกับการเข้าถึงบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิง่ายขึ้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการฉุกเฉิน
                  ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน เนื่องด้วยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมีส่วนสำคัญในการบริการด่านหน้า
                                     1
                  และการประสานส่งต่อ  รวมถึงสามารถสื่อสารเพื่อให้คำแนะนำ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน
                  อย่างเหมาะสมจะส่งผลดีต่อการรักษาในทุกระดับและทุกมิติ (กาย จิต สังคม จิตวิญญาณ)

                         การรักษาที่เพียงพอตั้งแต่หน่วยบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อนั้น ย่อมส่งผลลัพธ์ในทางที่ดี
                                                                                                            2
                  ดังเช่นองค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่า องค์ประกอบที่สำคัญของระบบการส่งต่อผู้ป่วย คือ สถานบริการระดับต้น
                  ในที่นี้คือ คลินิกหมอครอบครัว ในเกณฑ์มาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ 2566 มีการระบุด้านการบริการ

                  ในห้องฉุกเฉินว่าสามารถวินิจฉัย รักษา และทำหัตถการเบื้องต้น ได้แก่ ฉีดยา ทำแผล รวมถึงมีแนวทาง
                  การวินิจฉัยการรักษาเบื้องต้นและการส่งต่อหรือการจัดระบบส่งต่อแบบเครือข่าย stroke, ST elevation
                  myocardial infarction, head injury, hypoglycemia, hyperglycemia การช่วยฟื้นคืนชีพระดับ advance
                  life support การใช้ยาช่วยชีวิตฉุกเฉิน  แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะให้การดูแลผู้ป่วยเบื้องต้นตามแนวทาง
                                                   3
                  นั้นและตัดสินใจว่าจะส่งต่อผู้ป่วยหรือไม่ เป้าประสงค์เพื่อลดความรุนแรงของโรค ความทุพพลภาพ และการเสียชีวิต

                  ซึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับการส่งต่อผู้ป่วยของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ได้แก่ เพื่อความถูกต้องของการวินิจฉัย
                  และการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์เฉพาะทาง   รวมถึงความมั่นใจในการทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
                                                                                                            5
                                                      4
                  ผลที่ได้ตามมาหลังจากส่งต่อมายังโรงพยาบาลตรัง คือ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาต่อแบบผู้ป่วยในหรือไม่นั้น
                  บ่งบอกถึงความจำเป็นในการส่งต่อผู้ป่วยและแสดงถึงระบบปฐมภูมิด่านหน้าที่ดี  ซึ่งปัจจัยที่สัมพันธ์กับ
                                                                                      6,7,8
                                                                          9,10
                  การได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในมีปัจจัยเชิงระบบบริการสาธารณสุข   สัดส่วนของแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปต่อ
                          11
                  ประชากร  ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย 12,13  รวมถึงคุณลักษณะของแพทย์และวัฒนธรรมองค์กร
                                                                                                    9
                         จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าการศึกษาเฉพาะเรื่องการส่งต่อเคสฉุกเฉินจากหน่วยบริการปฐมภูมิ
                  โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รวมถึงการศึกษาในแง่ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยเมื่อส่งมายังหน่วยบริการตติยภูมิ

                  ในประเทศไทยนั้นมีจำกัด ทางผู้วิจัยมีความสนใจถึงผลลัพธ์ของการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่ส่งต่อจากคลินิก
                  หมอครอบครัวไปยังโรงพยาบาลตรัง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในหน่วยบริการ
                  ปฐมภูมิและระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                          เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่ส่งต่อจากคลินิก

                  หมอครอบครัวไปยังโรงพยาบาลตรัง

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการที่คลินิก
                  หมอครอบครัวโรงพยาบาลตรัง ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 กันยายน 2566 และข้อมูลผู้ป่วยจากโปรแกรม


                                                                                                          10


                     โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19