Page 11 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 11

โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567



                                  แนวทางการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีคุณภาพ จังหวัดชลบุรี


                                                   พญ.ฐานัดดา ศิริพร พญ.วาริพันธน์ วิระญาณวัฒน์ และนางสาวพัดชา ชินธนาวงศ์
                                                                             หน่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชลบุรี
                                                                                     จังหวัดชลบุรี เขตสุขภาพที่ 6


                  ความสำคัญของปัญหา
                         ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีอัตราเกิดน้อยกว่าอัตราตาย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีเป้าหมาย
                  ในการเพิ่มอัตราการเกิดและเพิ่มทารกแรกเกิดคุณภาพดีจึงเป็นนโยบายในระดับประเทศ โดยในระบบบริการ

                  สุขภาพทารกแรกเกิดมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน เพื่อลดอัตราตายของทารกแรกเกิดให้น้อยกว่า 3.6
                  ต่อ 1,000 ทารกเกิดมีชีพ ดังนั้นเพื่อมุ่งตอบสนองนโยบายของประเทศ การพัฒนาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ
                  ระบบบริการสุขภาพและการบริบาลทารกแรกเกิดให้มีคุณภาพดีจึงจำเป็นต้องคิดอย่างเป็นระบบ เข้าใจ
                  ในภาพรวม และสามารถเชื่อมโยงข้อมูล การดำเนินงาน และผลการทำงานเข้าด้วยกันเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์
                  และดำเนินงานที่เหมาะสม โดยจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีอัตราการคลอดมากที่สุดในเขตบริการสุขภาพที่ 6

                  จึงได้มีการพัฒนาการระบบบริการสุขภาพทารกแรกเกิดเพื่อทำให้ทารกแรกเกิดปลอดภัย หนึ่งในการพัฒนา
                  คุณภาพคือการเข้าถึงบริการที่รวดเร็ว การส่งต่อที่ครอบคลุมในเขตบริการสุขภาพ และสามารถเข้าถึงบริการได้
                  อย่างไร้รอยต่อ

                         จากสถิติงานบริการสุขภาพ ปีงบประมาณ 2564, 2565 และ 2566 พบว่าจำนวนทารกเกิดมีชีพ
                  จังหวัดชลบุรีเท่ากับ 13,919, 13,116 และ 14,252 คน ตามลำดับ อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดอายุ
                  น้อยกว่าหรือเท่ากับ 28 วัน (neonatal mortality rate; NMR) เท่ากับ 4.24, 3.89 และ 3.65 ต่อ 1,000
                  ทารกเกิดมีชีพ ตามลำดับ สำหรับปี 2567 ไตรมาสที่ 1 มีจำนวนทารกเกิดมีชีพ 3,627 ราย เสียชีวิต 16 ราย
                  อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดเท่ากับ 4.41 ต่อ 1,000 ทารกเกิดมีชีพ โดยสาเหตุหลักของการเสียชีวิต

                  อันดับ 5 อันดับแรก ได้แก่ ภาวการณ์เกิดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก โดยเฉพาะน้ำหนักน้อยกว่า
                  1,000 กรัม (Prematurity and very low-birth-weight : VLBW), ภาวะพิการแต่กำเนิด (Congenital anomaly),
                  ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (Persistent pulmonary hypertension in newborn: PPHN), ภาวะติดเชื้อ

                  (Neonatal sepsis) และภาวะพร่องออกซิเจน (Birth asphyxia)
                         ดังนั้น จากสาเหตุการเสียชีวิตข้างต้น ทำให้ทราบว่ากลุ่มประชากรทารกแรกเกิดก่อนกำหนดหรือทารก
                  ที่มีภาวะแทรกซ้อนขณะมารดาตั้งครรภ์เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลที่เป็นระบบและครอบคลุม เนื่องจาก
                  มีน้ำหนักตัวที่น้อยมากจึงทำให้ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน โรงพยาบาลชลบุรีจึงได้มี
                  การพัฒนาแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยตั้งแต่ในครรภ์ (intrauterine transfer) เพื่อให้ทารกแรกเกิดได้เข้าถึง

                  บริการที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็วทันเวลา ลดระยะเวลารอคอย ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และจำนวนวัน
                  ในการนอนโรงพยาบาล รวมไปถึงพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง
                  (PPHN) และภาวะพร่องออกซิเจน (Birth asphyxia) ด้วย ดังนั้นการมีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพและมีแนว

                  ทางการส่งต่อที่มีคุณภาพและมีแบบแผนจะช่วยลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราตายในทารกกลุ่มนี้
                  โดยโรงพยาบาลชลบุรีได้มีการพัฒนาแนวทางการส่งตัวดังกล่าว เพื่อให้ทารกแรกเกิดได้เข้าถึงบริการตามมาตรฐาน
                  การดูแลครอบคลุมทั้งจังหวัด และเขตบริการสุขภาพที่ 6

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อจัดทำแนวทางการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีคุณภาพ จังหวัดชลบุรี




                                                                                                           7


                     โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16