Page 15 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 15
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
Hosxp เกณฑ์คัดเข้า คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการที่คลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลตรังและได้รับการส่งต่อ
ไปยังห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรัง เกณฑ์คัดออก คือ ผู้ป่วยที่ข้อมูลในเวชระเบียนไม่ครบถ้วน คำนวณขนาดกลุ่ม
ตัวอย่างจากสูตร Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 134 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi square test,
Fisher exact test และ multivariable regression analysis ด้วยโปรแกรม IBM SPSS Statistics version 25
กำหนดค่าระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.05 ได้รับเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน เลขที่
ID 046/09-2566 จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลตรัง
ผลการศึกษา
ข้อมูลผู้ป่วยอาการฉุกเฉินที่เข้ารับบริการที่คลินิกหมอครอบครัวและได้รับการส่งต่อไปยังห้องฉุกเฉิน
โรงพยาบาลตรังในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ผ่านเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออกจำนวน 140 รายและนำมาใช้
เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เป็นผู้ป่วยระดับฉุกเฉินวิกฤตและระดับฉุกเฉินรุนแรงคิดเป็นร้อยละ 8.57 และ 77.14
ตามลำดับ ผู้ป่วยได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน 106 ราย อาการนำที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในมากที่สุด คือ
อาการไข้ร่วมกับความดันโลหิตต่ำ (ร้อยละ 43.4) รองลงมา คือ อาการทางระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 16)
อาการนำที่ไม่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในมากที่สุด คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (ร้อยละ 32.4) รองลงมา คือ
อาการทางระบบหัวใจ (ร้อยละ 23.53)
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งกลุ่มตามการได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในและไม่ได้รับการรักษาแบบ
ผู้ป่วยใน พบว่ามีคุณลักษณะทั่วไป ได้แก่ เพศหญิง (ร้อยละ 55.7 และ 64.7) อายุมากกว่า 60 ปี (ร้อยละ 34
และ 44.1) สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 54.7 และ 44.1) มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 52.8 และ 52.9)
โดยพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
ประวัติการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกภายใน 7 วัน การทำหัตถการที่คลินิกหมอครอบครัว
การทำหัตถการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรัง การตรวจทางรังสีที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรัง และระยะเวลา
รักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรังน้อยกว่า 2 ชั่วโมง โดยค่า p-value ได้แก่ 0.009, 0.02, 0.024, 0.031
และ 0.000 ตามลำดับ และเมื่อทำการวิเคราะห์โดยวิธี multivariable regression analysis เพื่อปรับอิทธิพล
ของตัวแปรต่าง ๆ พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
ประวัติการรักษาแบบผู้ป่วยนอกภายใน 7 วัน (OR [odds ratio] 12.012, 95% CI [confidence interval]
1.36 – 105.98 , P 0.025) ระยะเวลารักษาในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรังน้อยกว่า 2 ชั่วโมง (OR 12.96,
95% CI 4.31 – 38.97 , P 0.00) การไม่ตรวจทางรังสีที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรัง (OR 3.03, 95% CI 1.09 – 8.40,
P 0.033) ในขณะที่การไม่ทำหัตถการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรัง (OR 0.17, 95% CI 0.03 – 0.86, P 0.033)
เป็นปัจจัยป้องกัน
อภิปรายผล
ผลการศึกษามีความสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ในปัจจัยด้านประวัติการมารักษาแบบผู้ป่วย
นอกภายใน 7 วัน ระยะเวลาการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรังน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ที่ไม่สอดคล้องกัน คือ
14
9
การศึกษานี้พบว่าการไม่ตรวจทางรังสีเพิ่มเติมที่ห้องฉุกเฉินเพิ่ม OR ในการได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในที่นี้
อาจเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยในได้รับการส่งตรวจทางรังสีเบื้องต้นมาจากคลินิกหมอ
ครอบครัวแล้วและการเจ็บป่วยฉุกเฉินบางอย่างต้องการเพียงการส่งตรวจทางรังสีที่เฉพาะมากขึ้นเพื่อยืนยัน
การวินิจฉัยและสามารถจำหน่ายกลับได้ อย่างไรก็ตามควรมีช่องทางสำหรับรอคอยผลตรวจทางรังสีเพิ่มเติม
ที่โรงพยาบาลตรังเพื่อลดความแออัดในห้องฉุกเฉิน ในส่วนการไม่ทำหัตถการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรังนั้น
พบว่าเป็นปัจจัยป้องกันเป็นเพราะผู้ป่วยที่ส่งต่อมายังห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตรังส่วนใหญ่ได้รับการทำหัตถการ
มาจากคลินิกหมอครอบครัวแล้ว แต่ผู้ป่วยที่อาการยังไม่ดีขึ้นมักต้องการหัตถการเพิ่มเติมและส่วนใหญ่ได้รับ
11
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567