Page 13 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 13
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
อัตราการเข้ารับการรักษาด้วยวิธี Therapeutic hypothermia ภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด ในกรณี
ที่ส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชลบุรี
Year 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2657
Therapy <6h 66.7 76.9 57.1 87.5 100 100 100 100 50%*
(%)
*ข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2566 – ธันวาคม 2566
อัตราตายทารกแรกเกิดจากโรคความดันในปอดสูง ในกรณีรับมารักษาต่อในโรงพยาบาลชลบุรี
Year 2563 2564 2565 2566 2657
อัตราการเสียชีวิต(%) 40 40 50 18 50%*
*ข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2566 – ธันวาคม 2566
อภิปรายผล
หลังจากได้พัฒนาระบบการส่งต่อทารกแรกเกิด พบว่าทารกแรกเกิดก่อนกำหนดหรือทารกที่มี
ภาวะแทรกซ้อนขณะมารดาตั้งครรภ์ ได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็วทันเวลา ลดระยะเวลารอคอย
ภาวะแทรกซ้อนลดลง และอัตราการนอนโรงพยาบาลลดลง ดังนั้นการมีระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ
แนวทางการส่งต่อที่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2562 ได้มีการพัฒนาและศึกษาสภาพปัญหาการส่งต่อในจังหวัดชลบุรี
จนพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยพบว่าสามารถลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราตาย
ในทารกแรกเกิดได้ และการปฏิบัติตามแนวทางการส่งตัวที่ชัดเจนในกลุ่มทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจน พบว่า
สามารถส่งตัวผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษา Therapeutic hypothermia ภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมงหลังทารก
คลอด ทำให้ทารกลดความเสี่ยงทางระบบประสาทและพัฒนาการที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนแนวทาง
ในเรื่องการส่งตัวผู้ป่วยความดันในปอดสูง (PPHN) พบว่าอัตราการเสียชีวิตยังคงสูงเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ
ที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะเกิดจากความล้าช้าในกระบวนการวินิจฉัยให้การรักษา หรือรวมไปถึงระบบการส่งต่อ
ไม่ครอบคลุมพอ โดยทางหน่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชลบุรีมีแผนการที่จะปรับแนวทางการส่งต่อ
และแนวทางในการวินิจฉัยรักษาให้สามารถปฏิบัติได้จริง เพื่อเป็นการลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่ม
ดังกล่าว โดยสรุปแนวทางการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีคุณภาพ จังหวัดชลบุรี จึงเป็นแนวทางที่มีความสำคัญช่วย
ให้การดำเนินงานด้านทารกแรกเกิดบรรลุวัตถุประสงค์ ทารกแรกเกิดเข้าถึงบริการได้ตามมาตรฐานครอบคลุม
ทั้งจังหวัด และมีแผนมุ่งพัฒนาในการลดอัตราการเสียชีวิต ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มประชากร
แรกเกิดที่มีคุณภาพต่อไป
สรุปและข้อเสนอแนะ
การนำแนวทางการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีคุณภาพ จังหวัดชลบุรี มาใช้ในการพิจารณาการส่งต่ออย่าง
รวดเร็วทันเวลา มารดาและทารกปลอดภัยขณะส่งต่อ ส่งผลให้อัตราตายทารกแรกเกิดหลังการพัฒนาลดลง
สอดคล้องกับเป้าหมายของระบบบริการสุขภาพ ควรมีการส่งเสริมการนำแนวทางไปใช้ในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง
9
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567