Page 20 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 20

การประยุกต์ใช้ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะ

                                  ในการคัดแยกผู้ป่วยอัตโนมัติตามระบบ Moph Ed. Triage


                                                   นพ.นพดล สี่สุวรรณ พว.นันท์นลิน นาคะกุล และ พว.จิรัชยา พันธ์สุภา
                                                                         แผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำปาง

                                                                                    จังหวัดลำปาง เขตสุขภาพที่ 1

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         การคัดแยกผู้ป่วยมีความสำคัญต่อการจัดลำดับความเร่งด่วนในการรักษา ณ ห้องฉุกเฉิน การประเมิน
                  อย่างรวดเร็วและแม่นยำตามระบบ Moph Ed. Triage จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการรักษาผู้ป่วยในภาวะวิกฤต


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         การศึกษานี้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาและประเมินระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะที่สามารถจัดลำดับผู้ป่วยเข้าสู่
                  ระดับความรุนแรงต่างๆ ตาม Moph Ed. Triage โดยอัตโนมัติ จากสัญญาณชีพที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อลด
                  ความผิดพลาดของมนุษย์และเพิ่มความเร็วในการตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉิน การศึกษานี้มุ่งเน้นที่ผู้ป่วย Level 1
                  เป็นหลัก


                  วิธีการศึกษา
                  ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการของ Mopd Ed. Triage ตามสัญญาณชีพที่กำหนดไว้
                  เช่น ความดันโลหิตซิสโตลิก (Systolic Blood Pressure), ค่าความดันเฉลี่ย (MAP), ระดับความรู้สึกตัว (GCS),
                  ความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2) ระดับความเจ็บปวด (Pain Scale) ความเร็วของชีพจร (Pulse rate) และ
                  อัตราการหายใจในช่วงอายุน้อยกว่า 8 ปี ระบบถูกบูรณาการเข้ากับระบบ Smart ER ของแผนกฉุกเฉิน

                  โดยผู้ป่วยจะได้รับการคัดแยกอัตโนมัติทันทีเมื่อมีค่าสัญญาณชีพเข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด

                  ผลการศึกษา
                         ก่อนการใช้ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะ พบผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ระดับการคัดแยก Level 1 (Systolic
                  BP<90, MAP < 60, GCS < 8, หรือ SpO2 < 90%) แต่ได้รับการคัดแยกเป็นระดับอื่น 33% หลังการใช้ระบบ
                  นี้ พบผู้ป่วยได้รับการคัดแยกเป็นระดับอื่น 0 %


                  อภิปรายผล
                         การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะในการคัดแยกผู้ป่วยแบบอัตโนมัติตาม
                  เกณฑ์ Moph Ed. Triage สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการจัดลำดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย
                  ในห้องฉุกเฉินได้อย่างมีนัยสำคัญ การใช้สัญญาณชีพต่างๆ เช่น Systolic, MAP, GCS, SpO2 เป็นตัวชี้วัดหลัก
                  ในการประเมินระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้ระบบนี้คือการลดอัตราข้อผิดพลาด

                  ในการคัดแยกผู้ป่วยแบบดั้งเดิมจาก 33% ลงเหลือ 0% สำหรับผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ Level 1 แสดงถึงการเพิ่ม
                  ประสิทธิภาพในการรับรู้และตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

                  สรุปผลและเสนอแนะ
                         ระบบคัดกรองผู้ป่วยอัจฉริยะสามารถจัดลำดับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตโดยประเมินตามสัญญาณชีพได้โดย
                  อัตโนมัติตามเกณฑ์ Moph. Ed. Triage อย่างรวดเร็วและมีความแม่นยำที่สูงมาก





                                                                                                          16


                     โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25