Page 24 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 24
อภิปรายผล
จากการศึกษา เรื่อง ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตต่อการเข้าถึง
บริการและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้อภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบ
ระยะเวลาการเข้าถึงบริการและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่รับส่งต่อ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
พบว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตประกอบด้วย 1) การประสานและรับแจ้งข้อมูล
2) การตรวจสอบข้อมูล 3) การประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่รับส่งต่อซึ่ง แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การประเมิน
ก่อนส่งต่อ การประเมินระหว่างการส่งต่อ และการประเมินขณะส่งมอบ และ 4) การรับผู้ป่วยและการจำหน่าย
หลังจากผู้ป่วยได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์
ดังนี้ ระยะเวลาการเข้าถึงบริการเฉลี่ยของผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤตที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อ
ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตและระยะเวลาการเข้าถึงบริการเฉลี่ยของผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤตที่ใช้แนวปฏิบัติเดิมพบว่า
ระยะเวลาการเข้าถึงบริการเฉลี่ยของผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤตที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉินวิกฤต (Mean = 1.33, S.D. = ๐.๔๘) และระยะเวลาการเข้าถึงบริการเฉลี่ยของผู้ป่วยสงต่อฉุกเฉินวิกฤต
ที่ใช้แนวปฏิบัติเดิม (Mean = 3.48, S.D. = 1.082) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่น้อยกว่า 0.001 โดยพบว่า
กลุ่มทดลองมีระยะเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่รับการส่งต่อเร็วกว่ากลุ่มควบคุม
ซึ่งสอดคล้องกับคู่มือแนวทางการพัฒนาระบบส่งต่อของกองบริหารกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่กล่าวว่าการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสถานพยาบาลผู้รับและผู้ส่งแนวทาง
การรับส่งต่อจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างต่อเนื่องรวดเร็ว และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหลายเรื่องได้กล่าวว่า
การมีแนวทางการสื่อสารที่ชัดเจนจะช่วยลดระยะเวลาในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติ 2,5,7,14,15,17,24 ในขณะที่ กิตติมา โพธิปัต และคณะ ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการรับบริการ
ผู้ป่วยระดับวิกฤตในห้องฉุกเฉินนานกว่า 2 ชั่วโมง ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พบว่าปัจจัย
ที่สัมพันธ์กับระยะเวลาการรับบริการผู้ป่วยวิกฤตในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ นานกว่า
2 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การปรึกษาแพทย์แผนกศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมประสาท ศัลยกรรม
กระดูก และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมีการรับผู้ป่วยรักษาต่อแผนกผู้ป่วยใน และการรับรักษาต่อ
ที่ห้องสังเกตอาการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเป็นแนวปฏิบัติ
ในการประสานการรับส่งต่อระหว่างสหสาขาวิชาชีพ และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการเตรียมความพร้อม
ในการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของแต่ละหน่วยงาน อีกทั้งมีการสื่อสารทางการพยาบาลโดยใช้เทคนิค
ISBAR เป็นแนวทางเดียวกันทำให้การรับส่งเวรใช้เวลาลดลง ซึ่งสอดคล้องกันงานวิจัย 7,8,15,16
ร้อยละของผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤตที่ใช้แนวปฏิบัติพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้รับการได้รับ
การดูแลเหมาะสมตามการประเมิน ในด้านของ A B C D โดยภาพรวมพบว่าในระยะแรกรับและระยะระยะ
ต่อเนื่องถึงจำหน่าย ในกลุ่มทดลอง ได้รับการดูแลที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นมากสุดถึงร้อยละ ๑๐๐ ซึ่งสอดคล้องกับ
งานวิจัยของ วาสิทธิ์ นงนุช และคณะ (2560) ได้ศึกษาการพัฒนาคุณภาพระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ระหว่าง
สถานพยาบาล โรงพยาบาลเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าการมีแนวปฏิบัติการพยาบาล ในระบบส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉินทำให้คุณภาพการบริการผู้ป่วยมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และสอดคล้องกับ สุภาวดี สุทธิอาจและ
25
สุบรรณ อาจสมัย ที่ศึกษาการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤติ โรงพยาบาลไชยวาน
จังหวัดอุดรธานี พบว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแล
ให้มี ประสิทธิผลยิ่งขึ้นทั้งในด้านผลลัพธ์ทางการพยาบาล ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
สามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้เร็วขึ้น และยังช่วยให้ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นอย่าง
มีนัยสำคัญ และสามารถนำไปให้เป็นแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลฯ ในศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย โรงพยาบาลพุทธชินราช
20
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567