Page 22 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 22
จำนวน 6,696 ราย 7,496 ราย และ 7,407 ราย ตามลำดับ จากการทบทวนข้อมูลการรับการส่งต่อผู้ป่วยของ
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ที่ผ่านมายังพบประเด็นปัญหาต่างๆ ดังข้อมูล ปี พ.ศ. 2566 พบว่า
ภาวะแทรกซ้อนหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้จำนวน 600 ราย ในด้านการสื่อสารหรือส่งต่อข้อมูล
การรักษาพยาบาลผู้ป่วยผิดพลาด จำนวน 404 ราย การดูแลระหว่างส่งต่อไม่เหมาะสม 106 ราย การวางแผน
การดูแลไม่เหมาะสม 56 ราย และการประเมินผิดพลาด 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.33, 9.33, 9.33, 5.66
ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากแนวปฏิบัติในการรับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตยังขาดความชัดเจน ทำให้มีความเข้าใจ
ที่แตกต่างกัน จึงเกิดปัญหาสืบเนื่องมาและส่งผลต่อคุณภาพของระบบการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งการเตรียม
ความพร้อมด้านอัตรากำลังด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการรับผู้ป่วยได้ไม่เหมาะสมตามภาวะคุกคามชีวิต
ด้านการจัดการ
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่ออย่างปลอดภัย และได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง คณะผู้วิจัยจึงเห็น
ความสำคัญของปัญหาแนวปฏิบัติการรับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ขาดความชัดเจน จึงได้พัฒนาแนวปฏิบัติการ
พยาบาลการรับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตขึ้น และศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับการส่งต่อ
ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการรับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่เป็นระบบ ชัดเจน และ
มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และได้รับความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเข้าถึงบริการและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตระหว่างผู้ป่วยส่ง
ต่อฉุกเฉินวิกฤตที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติเดิม
วิธีการศึกษา
รูปแบบการวิจัย (Research Design) : เป็นการวิจัย แบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research
Design) โดยศึกษาชนิดสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two Group Posttest Only Design)
รูปแบบการทดลองของกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
กลุ่มตัวอย่าง การวัดก่อน สิ่งทดลอง วัดผลหลังทดลอง
E - X O1
C - - O2
E หมายถึง กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
C หมายถึง กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต รูปแบบเดิม
X หมายถึง แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
O1 หมายถึง การเข้าถึงบริการ และคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ในกลุ่มทดลอง
O2 หมายถึง การเข้าถึงบริการ และคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ในกลุ่มควบคุม
ประชากร (Population) และกลุ่มตัวอย่าง (Sample)
ประชากร (Population) คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ส่งต่อจากสถานพยาบาลอื่นมาโรงพยาบาลพุทธชินราช
จังหวัดพิษณุโลก แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ปี พ.ศ. 2567 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้
19
โปรแกรม G* Power Analysis ของ Faul, Erdfelder, Lang, & Buchner ใช้ Test Family เลือก -tests,
Statistical test เลือก Means: Differences between two independent means (two group) ทดสอบ
สมมติฐานสองทาง (two tails) กำหนดค่าอิทธิพลขนาดกลาง (Effect size) = 0.8 ซึ่งเป็นระดับปานกลาง
Cohen ได้กล่าวว่า การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบอิสระต่อกัน สามารถกำหนดอิทธิพลของกลุ่มตัวอย่างได้
20
ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงระดับสูง ค่าความคลาดเคลื่อน (Alpha) = 0.05 และค่า Power = 0.09 ได้กลุ่มตัวอย่าง
18
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567