Page 23 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 23

68 คน เพื่อป้องกันการสูญหายหรือได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ผู้วิจัยจึงเพิ่มกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 10 ได้กลุ่มตัวอย่าง
                  เป็น 84 คน ดังสูตร n =   68  2  = 83.95
                                       (1−.1)
                         สรุปการศึกษานี้ต้องมีกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ได้รับ
                  การพยาบาลการรับการส่งต่อผู้ป่วยรูปแบบเดิม ในช่วงวันที่ 5 มกราคม ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567
                  จำนวน 42 คน และกลุ่มทดลองที่ใช้แนวปฏิบัติในการรับการส่งต่อ ในช่วงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่
                  31 มีนาคม 2567 จำนวน 42 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเกณฑ์การคัดเข้า

                  (Inclusion criteria) และเกณฑ์การคัดออก (Exclusion criteria)
                         การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
                         ผู้วิจัยนำข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาวิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS มาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ดังนี้
                         1. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤติ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics)

                  การแจกแจง ความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Chi-square test
                         2. เปรียบเทียบระยะเวลาเฉลี่ยการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤตระหว่างกลุ่มควบคุม
                  และกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และ Independent Samples t- test
                         3. เปรียบเทียบคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามการประเมินระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

                  โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Chi-square test

                  ผลการศึกษา
                         ข้อมูลทั่วไป ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 52.4 และร้อยละ 54.8
                  รองลงมาเป็นเพศหญิงร้อยละ 47.6 และร้อยละ 45.2 ตามลำดับ อายุกลุ่มทดลอง ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 45 ปี
                  ร้อยละ 45.3 รองลงมา 31 - 45 ปี ร้อยละ 33.3 และอายุ 15 - 30 ปี ร้อยละ 21.4 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มควบคุม

                  ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 45 ปี ร้อยละ 52.4 รองลงมา 31 - 45 ปี ร้อยละ 28.6 และ 15 - 30 ปี ร้อยละ 19
                  ตามลำดับ ระดับความเฉียบพลันของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต พบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน
                  วิกฤตมีความเฉียบพลันอยู่ในระดับ U: Unstable  และระดับ H: Stable with High risk ร้อยละ 50 พบว่า

                  กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
                         ระยะเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤต ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
                  โดยภาพรวม พบว่ากลุ่มทดลอง (Mean = 1.33, S.D. = 0.48) มีระยะเวลาเฉลี่ยในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย
                  ส่งต่อฉุกเฉินวิกฤตที่เร็วกว่ากับกลุ่มควบคุม (Mean = 3.48, S.D. = 1.082) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
                  (p= ๐.๐๐)


                         ร้อยละผู้ป่วยส่งต่อฉุกเฉินวิกฤต จำแนกตามระยะแรกรับ และระยะต่อเนื่องจนจำหน่าย ได้รับการดูแล
                  เหมาะสมพบว่า ในระยะแรกรับกลุ่มทดลองส่วนใหญ่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมในด้าน Airway & C- Spine
                  protection ร้อยละ 100 รองลงมาด้าน Disability, Deformity, Drain, Drug ร้อยละ 97.6 ด้าน Breathing
                  & Ventilation ร้อยละ 95.2 และ Circulation & Bleeding Control ร้อยละ 92.9 ตามลำดับ สำหรับกลุ่ม
                  ควบคุมส่วนใหญ่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมในด้าน Airway & C- Spine Protection ร้อยละ 90.5 รองลงมา

                  ด้าน Breathing & Ventilation ร้อยละ 85.7 ด้าน Disability, Deformity, Drain, Drug ร้อยละ 83.3
                  และด้าน Circulation & Bleeding Control ร้อยละ 78.8 ตามลำดับ ระยะต่อเนื่องถึงจำหน่าย พบว่า
                  กลุ่มทดลองส่วนใหญ่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมในด้าน Airway &  C- Spine Protection ร้อยละ 100

                  รองลงมา คือ ด้าน Breathing & Ventilation ร้อยละ 95.2 ด้าน Circulation & bleeding control ร้อยละ
                  97.6 และด้าน Disability, Deformity, Drain, Drug ร้อยละ 92.9 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มควบคุม ส่วนใหญ่
                  ได้รับการดูแลที่เหมาะสมในด้าน Airway & C- Spine protection ร้อยละ 95.2 รองลงมาด้าน Circulation
                  & bleeding control  Breathing & ventilation และ Disability, Deformity, Drain, Drug ร้อยละ 85.7


                                                                                                          19


                     โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28