Page 21 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 21

ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
                                 ต่อการเข้าถึงบริการและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

                                        The Effects of referral Nursing Practice Guideline
                            with Critically Patients on the access, entry and quality of care


                                                        นางวิมล โท้เพชร์ นางวีนัส กุลธำรง และนางสาวมยุรี ลิ้มรุ่งยืนยง
                                                  กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพุทธชินราช
                                                                                   จังหวัดพิษณุโลก เขตสุขภาพที่ 2



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้กำหนดองค์ประกอบสำคัญสำหรับระบบส่งต่อ

                  ประกอบด้วย 1) ระบบสุขภาพ (Health System Issues) 2) สถานบริการระดับต้น (Initiating Facility)
                  3) ปฏิบัติการส่งต่อ (Referral Practicalities) 4) สถานบริการรับผู้ป่วย (Receiving Facility) 5) การกำกับ
                  การดูแลและการเสริมสร้างศักยภาพ (Supervision and Capacity Building) และ 6) การปรับปรุงคุณภาพ
                  อย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement) สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันของกระทรวง
                  สาธารณสุขที่ได้มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) โดยกำหนดให้มีการพัฒนาระบบการแพทย์

                  ฉุกเฉินครบวงจรและระบบส่งต่อเป็นนโยบายสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การบริการเป็นเลิศ (Service
                  Excellence) มีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชน ลดอัตราการเสียชีวิต และภาวะ
                  ทุพพลภาพ ภายใต้หลักการเครือข่ายบริการไร้รอยต่อ (Seamless Health Service Network) และใช้ทรัพยากรให้

                  มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลอย่าง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน
                  การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามมาตรฐานสำนักการพยาบาล ที่ได้กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุ
                  และฉุกเฉิน ด้านการดูแลต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพ
                          การเจ็บป่วยฉุกเฉินจากสาเหตุการบาดเจ็บและที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ
                  ต่อชีวิต ความพิการ หรือความทุกข์ทรมานอย่างมาก กระบวนการรับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (Refer In)

                  เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญของระบบการส่งต่อ ซึ่งการประสานงานมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ป่วย
                  ฉุกเฉินวิกฤต เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และได้รับการรักษาในระยะเวลาที่รวดเร็ว พยาบาล
                  วิชาชีพเป็นบุคลากรหลัก ในการปฏิบัติการรับส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต รวมถึงมีบทบาทในการสื่อสารทางการ

                  พยาบาล ซึ่งมีประโยชน์ในการวางแผนการดูแล ติดตาม ตรวจสอบ การปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้เกิดความ
                  กระชับ เครื่องมือการสื่อสารการพยาบาลระหว่างทีมสุขภาพที่นิยมใช้ คือ ISBAR ประกอบด้วย Identify
                  Situation, Background, Assessment and Recommendation  การสื่อสารนี้ทำให้เกิดคุณภาพในการดูแล
                  ผู้ป่วยอย่างรวดเร็วปลอดภัย ช่วยลดอุบัติการณ์หรือความเสี่ยงที่เกิดจากการรับ - ส่งข้อมูลไม่ครบถ้วน
                  ลดระยะเวลาในการรับ - ส่งเวร องค์การอนามัยโลก (World Health Organization), The Institute for

                  Healthcare Improvement (IHI), และ The Joint Commission ให้ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูล
                  ทางคลินิก (Clinical Handoffs) ที่มีประสิทธิภาพ ชัดเจน ถูกต้อง และแม่นยํา เพราะการสื่อสารที่ผิดพลาด
                  จะเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

                           โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ระดับ P (Premium) ขนาด 1,063 เตียง
                  มีบทบาทหน้าที่ในการรับการส่งต่อผู้ป่วย จากสถานพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 2 และเขตใกล้เคียงโดยมีศูนย์รับส่งต่อ
                  ให้การประสานการรับส่งต่อผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง สถิติการให้บริการการรับส่งต่อผู้ป่วย
                  ฉุกเฉินวิกฤต (Refer In) ศูนย์รับส่งต่อโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2564 – 2566


                                                                                                          17


                     โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26