Page 26 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 26
ผลของการติดตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องในระบบส่งต่อ
ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์
พญ.นภาจรี ทะนะแสง นางสมศรี เขียวอ่อน หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
และนายนพอนันต์ พุฒิมโนสิทธิ์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร
โรงพยาบาสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ เขตสุขภาพที่ 3
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การส่งต่อผู้ป่วยหมายถึงกระบวนการ การส่งผู้ป่วยจากหน่วยบริการที่รับผิดชอบการดูแลเบื้องต้น
ไปยังหน่วยบริการที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือที่สามารถให้การรักษาที่เหมาะสมมากขึ้น
กับสถานการณ์ของผู้ป่วย การส่งต่อนั้นอาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยหรือปัญหาสุขภาพที่ต้องการ
การรักษาเพิ่มเติมหรือการวินิจฉัยและการดูแลที่ซับซ้อนมากขึ้น การส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องการการรักษา
ที่เฉพาะเจาะจง การพัฒนากระบวนการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยี ด้วยระบบติดตาม
ผู้ป่วยแบบอัตโนมัติที่เราปรับปรุงพัฒนา สามารถช่วยติดตามสถานะและความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยได้แม่นยำ
และรวดเร็ว สามารถแจ้งเตือนบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยในการตัดสินใจในการประเมินผู้ป่วยขณะส่งต่อ
ลดความล่าช้า ป้องกันไม่ให้อาการผู้ป่วยแย่ลงขณะส่งต่อ อีกทั้งยังพัฒนาให้มีการสื่อสารระหว่างหน่วยบริการ
การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤติขณะส่งต่อ
โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา
เป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งเดียวในเขตสุขภาพที่ 3 รับดูแลผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการรักษาใน 5 จังหวัด ซึ่งจากสถิติ
ของโรงพยาบาลพบว่ามีการส่งต่อผู้ป่วยมารับการรักษา ในปี 2564-2566 จำนวน 14,873 , 13,545 , 16,663
ตามลำดับ เป็นผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน จำนวน 1,596 , 1,446 , 1,764 ตามลำดับ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
ได้เห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินขณะส่งต่อ ตามหลักของ 3P safety (Patient, Personnel,
People safety) จากรพ.สวรรค์ประขารักษ์ เขตสุขภาพที่ 3 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมการส่งข้อมูลผู้ป่วยผ่าน
โปรแกรม Three refer เริ่มใช้ในเขตเมื่อปี 2561 ทำให้การส่งต่อข้อมูลมีความรวดเร็วและสามารถปรับ
โปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ได้ นอกจากการส่งข้อมูลผู้ป่วยผ่านโปรแกรมแล้ว ปี 2564 มีการนำระบบ
การใช้เครื่องติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วยขณะส่งต่อแบบอัตโนมัติ (Telemedicine) สามารถติดตามอาการผู้ป่วย
ได้ตลอดการส่งต่อ ซึ่งแพทย์ปลายทางและต้นทางสามารถเห็นสัญญาณชีพ คลื่นหัวใจที่เปลี่ยนแปลง
และสามารถให้การรักษาได้ก่อนถึงโรงพยาบาลปลายทาง ได้มีการศึกษาผลของการส่งต่อผู้ป่วยโดยใช้เครื่อง
ติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วยขณะส่งต่อแบบอัตโนมัติ (Telemedicine) โดยดูในเรื่องอาการผู้ป่วยที่ทรุดลงขณะส่งต่อ
อัตราการเสียชีวิตใน 24 ชม.แรก จำนวนวันนอน และค่ารักษา พบว่า ดีกว่าการส่งต่อที่ไม่มีการใช้เครื่องติดตาม
สัญญาณชีพผู้ป่วยขณะส่งต่อแบบอัตโนมัติ (Telemedicine) แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ได้ทำการพัฒนารูปแบบการติดตามอาการ
ผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง ในระบบส่งต่อ ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ขึ้น และได้มี
การประเมินผลการติดตามอาการผู้ป่วยฉุกเฉินต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามอาการ
ผู้ป่วยฉุกเฉิน กำหนดให้มีการประเมินอาการผู้ป่วยก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
โดยใช้สัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง ( National Early Warning Score : NEWS) ในการประเมินอาการทรุดลง
ขณะส่งต่อ โดยเริ่มให้ดำเนินการตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 – ปัจจุบัน
22
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567