Page 33 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 33
ผลการศึกษา
จากสถิติประสานส่งต่อผู้ป่วย Refer for Mechanical Thrombectomy ปี 2566 รวม 46 ราย ได้แก่
1. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 10 ราย
2. สถาบันประสาทวิทยา 4 ราย
3. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 32 ราย
ผลจากการส่งต่อ ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย Mechanical Thrombectomy 24 ราย และไม่ได้รับ
การรักษาด้วย Mechanical Thrombectomy 22 ราย เนื่องจาก
1. มี Large Infarction 10 ราย (45.45%)
2. หลอดเลือดเปิดแล้ว 8 ราย (36.36%)
3. CCA 1 ราย 4.55%)
4. Hemorrhage 2 ราย 9.09%)
5. M2 Occlusion 1 ราย (4.55%)
เปรียบเทียบผลการดูแลผู้ป่วย
ผลการดูแลผู้ป่วย ได้ทำ MT (ร้อยละ) ไม่ได้ทำ MT (ร้อยละ)
ดีขึ้น 13 (54.16) 5 (22.73)
คงที่ 4 (16.67) 5 (22.73)
แย่ลง 3 (12.50) 9 (40.90)
เสียชีวิต 4 (16.67) 3 (13.63)
รวม 24 (100) 22 (100)
ได้ท า MT (ร้อยละ) ไม่ได้ท า MT (ร้อยละ)
16.67 22.73
12.5 13.63
54.16
16.67 40.9 22.73
ดีขึ้น คงที่ แย่ลง เสียชีวิต ดีขึ้น คงที่ แย่ลง เสียชีวิต
อภิปรายผล
การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย Stroke for Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลสระบุรี
เพื่อลดระยะเวลาการส่งต่อในกลุ่มผู้ป่วย Stroke Non FAST Track ที่มีอาการเกิน 4.5 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน
24 ชั่วโมง ของจังหวัดสระบุรีโดยใช้แนวคิด Lean เป็นแนวคิดที่ช่วยให้ประสิทธิภาพทำงานดีขึ้น
เกิดกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการกำจัดความสูญเปล่าของกระบวนการทั้งหมด สามารถ
ใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ ไม่ต้องเสียเวลากับกระบวนการที่ไม่จำเป็น โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องเห็นความสำคัญ
และให้ความร่วมมือจึงจะทำให้งานบรรลุเป้าหมาย เกิดระบบงานที่มีประสิทธิภาพที่ใช้ร่วมกันในโรงพยาบาลทุกแห่ง
ในจังหวัดสระบุรี ส่งผลทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ได้รับการส่งต่อและรับการรักษาได้ทันเวลา การฟื้นหาย
ของผู้ป่วยดีขึ้น อัตราทุพพลภาพและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลง
29
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567