Page 28 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 28
2.เปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ใช้และไม่ใช้แบบการติดตามอาการผู้ป่วยขณะส่งต่อ
ไม่บันทึกการติดตาม ทำบันทึกการติดตาม
รายการ จำนวน จำนวน
(n=323) ร้อยละ (n=194) ร้อยละ
ค่าสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลงไม่แย่ลง (NEWS ≤ 0) 166 51.39 105 54.12
ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเมื่อถึงรพ. สวรรค์ประชารักษ์ 7 2.17 4 2.06
3.เปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ค่าสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลง (NEWS Score)
อาการไม่แย่ลง อาการแย่ลง
(NEWS ≤ 0) (NEWS > 0)
รายการ
จำนวน จำนวน
(n=271) ร้อยละ (n=246) ร้อยละ
ใช้แบบการติดตามอาการผู้ป่วย 103 38.01 88 35.77
ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นเมื่อถึงรพ. สวรรค์ประชารักษ์ 2 0.74 9 3.66%
เสียชีวิตภายใน 24 ชม 7 2.58 11 4.47%
อภิปรายผล
การส่งต่อผู้ป่วยที่ใช้แบบบันทึกการติดตามอาการผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องในโปรแกรม Three
Refer มีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับก่อนมีระบบ และเมื่อดูอัตราการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ของผู้ป่วย
ฉุกเฉินเร่งด่วนในระบบส่งต่อ ลดลงจากร้อยละ 6.93 เป็น ร้อยละ 3.48 ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดี แม้ว่า ร้อยละ
หัวใจหยุดเต้นเมื่อมาถึงโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จะไม่แตกต่างกันมากนัก
และเมื่อนำข้อมูลผู้ป่วยส่งต่อวิกฤตฉุกเฉินตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2567 - เมษายน 2567 จำนวน 517 ราย
มาเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่มีการใช้แบบบันทึกการติดตามอาการผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง
ในโปรแกรม Three Refer กับไม่ได้มีการบันทึก พบว่า ค่าสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลงไม่แย่ลง (NEWS
≤ 0 เมื่อใช้แบบประเมินคิดเป็นร้อยละ 54.12 เมื่อนำข้อมูลเปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินที่ค่าสัญญาณ
เตือนอาการเปลี่ยนแปลง (NEWS Score) มาวิเคราะห์ พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการไม่แย่ลง (NEWS ≤ 0) มีการใช้
แบบบันทึกการติดตามอาการผู้ป่วยคิดเป็น ร้อยละ 38.01 พบว่าสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอาการแย่ลง (NEWS > 0)
และเมื่อผู้ป่วยอาการไม่แย่ลง ทำให้แนวโน้มภาวะหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงลดลง คิดเป็น
ร้อยละ 0.74 และ 2.58 ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่มีอาการแย่ลง ในการส่งต่อที่มีการบันทึกแบบประเมิน
การส่งต่อผู้ป่วย แสดงได้ว่าถ้ามีการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนส่งต่อ ขณะส่งต่อ และเมื่อถึงโรงพยาบาลสวรรค์
ประชารักษ์ ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการไม่แย่ลงขณะส่งต่อเพิ่มขึ้น
การใช้แบบบันทึกการติดตามอาการผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง ในโปรแกรม Three Refer
เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในการวางแผนดูแลผู้ป่วยต่อไป ง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล และอยู่ในระบบโปรแกรม
Three Refer ข้อมูลการใช้รูปแบบการประเมินผู้ป่วยที่ส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
อาจจะต้องเพิ่มระยะเวลาการเก็บข้อมูลเนื่องจากข้อมูลยังมีไม่มากพอจึงไม่เห็นความแตกต่างมากนัก
24
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567