Page 34 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 34
พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันของ รพ.หัวหิน
Developing a Referral System for Acute ischemic stroke Patients at Huahin Hospital
นพ.ศรัณย์ โชติกเสถียร
โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตสุขภาพที่ 5
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลัน (acute ischemic stroke) คือ มีการอุดตันของหลอดเลือด
ในสมอง ส่งผลให้มีความผิดปกติของระบบประสาทแบบทันทีทันใด สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตหรือเป็น
อัมพฤกษ์อัมพาตได้ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม
ครอบครัว รวมถึงความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)
รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทย พบว่าโรคหลอด
1,2
เลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชากรไทยทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยการรายงาน
ของกระทรวงสาธารณสุขปี พ.ศ.2557 โดยผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่จะยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ โรคหลอด
3
เลือดสมองอุดตันเป็นภาวะที่ต้องการการรักษาที่เร่งด่วน เพื่อรักษาชีวิตและลดความความรุนแรงของความพิการ
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันระยะเฉียบพลันนั้น เริ่มตั้งแต่การประเมินผู้ป่วย
และมีอาการที่สงสัยว่ามีเป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ต้องรีบแจ้งแพทย์ทันทีเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษา
ผ่านระบบช่องทางด่วน (stroke fast track) ผู้ป่วยจะได้รับ การประเมินและการรักษาที่เหมาะสม ตั้งแต่
การประเมิน ทางระบบประสาท ซักประวัติ ตรวจเลือดทางห้อง ปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองอย่างรวดเร็วและให้ยาละลายลิ่มเลือด recombinant tissue
plasminogen activator (rt-PA) ทางหลอดเลือดดำได้ทัน หากผู้ป่วยไม่มีข้อห้ามของการให้ ซึ่งต้องให้ภายใน
4.5 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของยาละลายลิ่มเลือดจะลดลงในบริเวณที่มีการอุดตัน
ของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ได้แก่หลอดเลือด internal carotid artery (ICA), หลอดเลือด middle
cerebral artery (MCA) ทั้งในส่วนที่เป็น M1 หรือ M2, หลอดเลือด anterior cerebral artery (ACA) และหลอด
เลือด basilar artery โดยสามารถเปิดหลอดเลือด (recanalization) ได้เพียงร้อยละ4-30 เท่านั้น ทำให้มีการ
4
พยากรณ์โรคที่ไม่ดีและอัตราการตายสูง นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่ไม่สามารถได้ยาละลายลิ่มเลือด
rt-PA เนื่องจากมีข้อห้ามของการให้ ซึ่งได้แก่ มีภาวการณ์แข็งตัวของเลือดผิดปกติจากการได้รับยาละลาย
ลิ่มเลือดมาก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยที่ได้เพิ่งได้รับการผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์
จากการรักษาด้วยการใส่สายสวนหลอดเลือดสมอง (endovascular therapy) โดยการใช้อุปกรณ์ลากหรือ
ดูดลิ่มเลือด ซึ่งเรียกว่า Thrombectomy จะเป็นการเพิ่มประสิทธิผลของการเปิดหลอดเลือดให้ประสบความสำเร็จ
5
มากขึ้น โดยการศึกษาที่เป็น randomize controlled trial (RCT) ของ 5 การศึกษาใหญ่ที่ออกมาในปี
พ.ศ.2558 6-10 ได้แก่ MR CLEAN, REVASCAT, ESCAPE, EXTEND-IA และ SWIFT PRIME ที่ให้ผลการรักษาที่
ค่อนข้างดีสำหรับการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดสมอง ดังนั้น การรักษาโดยวิธีนี้จึงเป็นที่ยอมรับและถือว่า
เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานวิธีหนึ่งของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตันฉับพลัน ที่บริเวณหลอดเลือดแดง
ขนาดใหญ่ โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดในปัจจุบัน ยังคงถือเวลาที่ 6 ชั่วโมง
หลังจากมีอาการสำหรับหลอดเลือดสมองส่วนหน้า (anterior circulation) 11-12 และ 12-24 ชั่วโมงสำหรับ
13
โรคหลอดเลือดสมองอุดตันเฉียบพลันที่สมองส่วนหลัง (posterior circulation)
30
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567