Page 30 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 30

การพัฒนาแนวทางส่งต่อผู้ป่วย Stroke for Mechanical Thrombectomy โรงพยาบาลสระบุรี


                                                                                             นางทิวา สีม่วงอ่อน
                                      ศูนย์รับ - ส่งผู้ป่วย กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี
                                                                                    จังหวัดสระบุรี เขตสุขภาพที่ 4



                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         จากสถิติ 3 ปีระหว่างปี 2563 – 2565 พบว่ามีผู้ป่วยกลุ่ม Stroke Non FAST Track เข้ารับการรักษา
                  ที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสระบุรี ฐานข้อมูลบริการผู้ป่วยโรงพยาบาลสระบุรีย้อนหลัง ดังนี้ 305,

                  269 และ 282 รายตามลำดับ โรงพยาบาลสระบุรีเป็นแม่ข่ายที่รับผิดชอบให้การดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน
                  และเกินศักยภาพโรงพยาบาลภายในจังหวัดและเขตสุขภาพที่ 4 ได้รับการรับรองคุณภาพประกาศนียบัตรศูนย์
                  โรคหลอดเลือดสมองมาตรฐาน (Re-accreditation) ครั้งที่ 2 เพื่อพัฒนาเข้าสู่มาตรฐานศูนย์โรคหลอดเลือด
                  สมองมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข (Standard Stroke Center Certification : SSCC) มีการใช้ระบบ LEAN

                  มาพัฒนาการประสานส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต้นทาง มีการกำหนดจุดนัดหมายการแจ้งโรงพยาบาล
                  ปลายทางทราบ เพื่อรอรับที่ห้อง CT scan และให้ยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) ในห้อง CT scan ก่อน Admit
                  Stroke Unit สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยในกลุ่ม Stroke FAST Track ภายในจังหวัดสระบุรีได้อย่างมี

                  ประสิทธิภาพ แต่ยังไม่มีการรักษาผู้ป่วยด้วย Mechanical Thrombectomy ในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกลุ่ม
                  Stroke Non FAST Track ที่มี Onset ระหว่าง 4.5-24 ชั่วโมงที่มาด้วยการอุดตันที่หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่
                  (Large Vessel Occlusion)
                         จากการทบทวนคุณภาพบริการการดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Stroke Non FAST Track โรงพยาบาลสระบุรี
                  พบว่าหากผู้ป่วยได้รับการประเมินสภาพตรวจร่างกาย ได้รับการวินิจฉัยและพิจารณาเห็นควรได้รับการรักษา

                  ด้วย Mechanical Thrombectomy ตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชนหรือห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ทีมดูแลผู้ป่วย
                  สามารถบริหารจัดการให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วย Mechanical Thrombectomy
                  ทันเวลาแล้วจะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตลดภาวะทุพพลภาพและลดอัตราตายได้มากขึ้น

                         การตรวจประเมินได้ว่าผู้ป่วยกลุ่ม Stroke Non FAST Track ที่มี Onset ระหว่าง 4.5-24 ชั่วโมง
                  ได้รับการประสานส่งต่ออย่างรวดเร็วส่งผลดีต่อผู้ป่วย ตัวชี้วัดคุณภาพบริการกระทรวงสาธารณสุข อัตราตาย
                  ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke: I60-I69) <ร้อยละ 7 โดยผลการดำเนินงานโรงพยาบาลสระบุรีที่ผ่าน
                  มาระหว่างปี 2563 – 2565 พบว่าอัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke: I60-I69) ร้อยละ 66.66, 71.01,
                  71.95 ตามลำดับ ซึ่งโอกาสในการรักษาด้วย Mechanical Thrombectomy มีความสัมพันธ์กับอัตราการรอด

                  ชีวิตของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น อัตราตายและอัตราทุพพลภาพของผู้ป่วยที่ลดลง

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย Stroke for Mechanical
                  Thrombectomy งานศูนย์รับ-ส่งต่อกลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสระบุรี
                  จังหวัดสระบุรี


                  วิธีการศึกษา
                         กิจกรรมพัฒนา (Process) : ใช้แนวคิด LEAN เพื่อลดขั้นตอนที่สูญเปล่า (Waste) ในกระบวนการเข้าถึงห้อง
                  CT Scan ของผู้ป่วย Stroke โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2562 ผลการพัฒนา Stroke FAST Track ร้อยละของผู้ป่วย
                  โรคหลอดเลือดสมองตีบ/อุดตันระยะเฉียบพลัน (I63) ที่มีอาการไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง ได้รับการรักษาด้วยยา


                                                                                                          26


                     โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35