Page 39 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 39
วิธีการศึกษา
รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
พยาบาลหัวหน้าแผนกคลินิกเฉพาะทาง 10 แผนกๆ ละ 1 คน พยาบาลศูนย์ประสานส่งต่อโรงพยาบาล
พุทธโสธรจำนวน 1 คน พยาบาลผู้รับผิดชอบงานส่งต่อโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง (10 แห่งๆละ 1 คน)
และผู้รับบริการคลินิกเฉพาะทางที่มารับบริการต่อเนื่องทุก 1-3 เดือน 10 แผนกๆ ละ 1 คน คัดเลือก
กลุ่มตัวย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดและสมัครใจ รวมทั้งสิ้น 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ได้แก่ รูปแบบระบบนัดออนไลน์ GG Sheet, แบบสนทนากลุ่ม, แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบประเมิน
ความพึงพอใจการบริการ รวบรวมข้อมูลโดยประชุมระดมความคิดเห็น การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์
และการสำรวจความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเบื้องต้นได้แก่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. รวบรวมข้อมูลปัญหาการนัดผู้ป่วยส่งต่อ ศึกษาระบบนัดผู้ป่วยระบบเดิม (ภาพที่ 1) และวิเคราะห์
ปัญหาเพื่อหาสาเหตุ
2. ประชุมระดมความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องได้แก่ผู้ปฏิบัติงานส่งต่อโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา
3. ศึกษา web application ที่เหมาะสมและออกแบบระบบนัดโดยใช้ Google application ประชุม
ชี้แจงแนวทางการทดลองใช้ “GG Sheet ระบบนัดออนไลน์ ลดรอคอย ลดแออัด จังหวัดฉะเชิงเทรา” ดังภาพที่ 2
4. ทดลองใช้รูปแบบ รวบรวมผลการทดลองใช้รูปแบบระบบนัดออนไลน์ และปรับปรุงการดำเนินงาน
5. จัดทำแนวทางปฏิบัติ “GG Sheet ระบบนัดออนไลน์ ลดรอคอย ลดแออัด จังหวัดฉะเชิงเทรา”
6. สรุปผลการพัฒนารูปแบบ “GG Sheet ระบบนัดออนไลน์ ลดรอคอย ลดแออัด จังหวัดฉะเชิงเทรา”
รพช ออกใบนำทาง รพช.บันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน ผู้ป่วยติดต่อ รพ.พุทธโสธรออกใบนัด
ส่งตัวให้กับผู้ป่วย โปรแกรมส่งต่อ ever รพ.พุทธโสธร ตรวจคลินิก ตรวจคลินิกเฉพาะทาง
ทั่วไป
ผู้ป่วยเข้ารับบริการตาม ผู้ป่วยกลับบ้าน
ผู้ป่วยกลับบ้าน บริการตรวจรักษา ใบนัดของคลินิกเฉพาะทาง (นัดรับบริการในครั้งต่อไป)
ภาพที่ 1 ระบบนัดผู้ป่วยระบบเดิม
รพช.บันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน ผู้ป่วยติดต่อ รพ.พุทธโสธร
รพช.ตรวจสอบคิวว่าง โปรแกรมส่งต่อ ever ตามวันเวลาใบนำทาง
ในระบบ GG SheetS
และออกใบนำทางส่งตัว
ผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจ
ผู้ป่วยกลับบ้าน คลินิกเฉพาะทาง
ภาพที่ 2 GG Sheet ระบบนัดออนไลน์ ลดรอคอย ลดแออัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
35
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567