Page 60 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 60

ผลการพัฒนา

                         การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง (Performance) :
                         - ไม่พบอุบัติการณ์ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงทรุดลงและเสียชีวิตขณะนำส่งตั้งแต่ปี 2564 – 2566

                            กราฟแสดงอุบัติการณ์ผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่มาโดยระบบส่งต่อเสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉิน


                                                      อุบัติการณ์ (ครั้ง)  เป้าหมาย

                                50       21         14          10          8           2
                                0
                                      ปี 2 5 6 2  ปี 2 5 6 3  ปี 2 5 6 4  ปี 2 5 6 5  ปี 2 5 6 6

                         - จากกราฟเห็นได้ว่า อุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉินมีแนวโน้มลดลง เกิดจากการพัฒนา

                  คุณภาพการดูแลผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลเป็นประจำและต่อเนื่อง โดยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน

                                           ตารางแสดงจำนวนผู้ป่วย pass through (ราย)
                               PUI/COVID-     Maternal      STEMI to  To Stroke       Septic     Pediatric to

                                19 to ward  COVID-19 to       PCI         unit       shock to       ward
                                                 OR                                    ICU
                     ปี 2564       307            5             -           -            -            -

                     ปี 2565        -             -           230          96            -            -

                     ปี 2566        -             -           260          120         202           88

                                           สถิติผู้ป่วยรับส่งต่อทางน้ำและทางอากาศ (ราย)
                                                 Sea transport                      Air transport

                         ปี 2564                      331                                 2

                         ปี 2565                      156                                 7
                         ปี 2566                      287                                 13


                  อภิปรายผล
                         บทเรียนที่ได้รับ :
                         - ความท้าทายที่สำคัญ คือ การทำงานบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ตั้งแต่การประสานงาน

                  ภายในและภายนอกโรงพยาบาล โรงพยาบาลและองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งภายในและภายนอกจังหวัด
                  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การติดต่อสื่อสารและการประสานงานอย่างสม่ำเสมอ ใช้ความร่วมมือในการระดม
                  ความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อพัฒนาระบบงานให้ขับเคลื่อน
                  ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีมาตรฐาน ได้รับความปลอดภัย

                         - การทบทวนกระบวนการการดูแลผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินและการออกแบบระบบที่เหมาะสมกับบริบท
                  ของงานประจำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและสามารถป้องกันการเกิดความเสี่ยงได้
                         - การเก็บข้อมูลในปัจจุบันยังต้องอาศัยการเก็บโดยใช้ google sheet และแนวทางในการส่งต่อข้อมูล
                  ที่เป็นรูปภาพต้องอาศัยแอปพลิเคชัน LINE ดังนั้นความท้าทายที่สำคัญ คือ การเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยระหว่าง

                  สถานพยาบาล รวมถึงแนวทางในการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล



                                                                                                          56


                     โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65