Page 59 - ผลงานวิชาการระบบส่งต่อ 2567
P. 59
ปี กิจกรรม
- พัฒนาแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องผ่าคลอดฉุกเฉินจากโรงพยาบาล
2564 ต้นทางสู่ห้องผ่าตัด (Pass through OR)
(ต่อ) - จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล (Faster, streamlined
referral management for better outcome)
- พัฒนาแบบบันทึกข้อมูลเพื่อใช้เตรียมความพร้อมและประเมินผู้ป่วยก่อน-ระหว่างและหลังการส่งต่อ
- จัดประชุมเพื่อพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วยทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ทั้งในจังหวัดภูเก็ตและ
เครือข่ายอันดามัน เพื่อสร้างข้อตกลง แนวทางปฏิบัติ รวมถึงทบทวนอุบัติการณ์ความเสี่ยง ทั้งใน
รูปแบบ Onsite และ Online
2565 - ขยายการใช้งานระบบรถพยาบาลแบบรวมศูนย์ (Ambulance Operation Center; AOC)
ในการรับส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดภูเก็ต โดยขยายสัญญาณ AOC จากศูนย์
สั่งการมาที่ศูนย์ประสานรับส่งต่อเพื่อติดตามผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
- นำต้นแบบจากการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ในการพัฒนาแนวทางการประสานส่งต่อผู้ป่วย
กลุ่ม Fast Track (pass through PCI in STEMI and pass through CT in stroke fast track)
2566 - พัฒนาแนวทางการประสานส่งต่อผู้ป่วยเด็ก (Pass through ICU/Ward)
และ septic shock (Pass through ICU)
- จัดโครงการพัฒนาระบบรับส่งต่อผู้ป่วยสัญจร โดยความร่วมมือจากโรงพยาบาลในเครือข่ายใน
การลงเยี่ยม รับทราบปัญหา ร่วมกันอภิปรายเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปรับปรุงระบบให้ดี
ยิ่งขึ้น
2. การพัฒนารูปแบบการรับส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ
- ประสานงานกับโรงพยาบาลลูกข่ายพื้นที่เกาะ (โรงพยาบาลเกาะยาวชัยพัฒน์, โรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลพรุในและโรงพยาบาลเกาะพีพี) เพื่อจัดระบบบริการที่เหมาะสมตามบริบทในแต่ละพื้นที่
ซึ่งมีความแตกต่างและข้อจำกัดทั้งในเรื่องของรูปแบบการส่งต่อทางน้ำ ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์และ
บุคลากร
3. การพัฒนารูปแบบการรับส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศ
ปี กิจกรรม
2564 - จุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศ โดยอาศัยความร่วมมือ
จากกองทัพเรือภาคที่ 3 และกองบังคับการตำรวจภูธรภาค 8 ในการสนับสนุนอากาศยาน รวมถึง
ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
2565 - พัฒนาแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศในการส่งต่อผู้ป่วย Time Sensitive Disease เช่น
Rupture aortic dissection, Thrombectomy in large vessel occlusion เป็นต้น
2566 -ขยายการดำเนินงานในการใช้ทีมปฏิบัติการและอากาศยานใจจังหวัดภูเก็ต รับส่งต่อผู้ป่วย
STEMI ในพื้นที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เพื่อมาทำ PCI ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (เนื่องจาก
ระยะทางในการมาทางบกนานกว่าทางอากาศ)
55
โครงการประชุมสัมมนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบรับส่งต่อผู้ป่วย ปีงบประมาณ 2567