Page 25 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 25

2) การเน้นย้ำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการเตือนของตนเองที่อาจทำให้มีโอกาสกลับไปใช้สุรา

               และสารเสพติดซ้ำ

                           3) ใช้ CBT เพื่อทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิดและหูแว่วประสาทหลอนดีขึ้น

                           4) การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ เรื่องอาการทางจิตและการใช้สุรา สารเสพติด (Comorbid
               Psychoeducation) เช่น เมื่อผู้ป่วยมีอาการหูแว่ว หรือระแวง นอนไม่หลับ หากใช้สุราอาจทำให้อาการ

               ทางจิตเพิ่มขึ้นได้

                           5) สอนวิธีการจัดการอาการทางจิตที่เหมาะสม
                           6) ใช้เทคนิค CBT ในสัปดาห์ที่ 6 โดยทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนครบ 24 สัปดาห์


                           7) เทคนิค CBT โดยรวมจะต้องใช้ระยะเวลาหลายครั้ง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนการบำบัด
               พฤติกรรม

                         3. การใช้สติเป็นฐาน (Mindfulness base intervention: MBI) สติบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด
               (Mindfulness-Based Therapy and Counseling for Relapse Prevention : MBRP) ใช้แนวคิดของ

               จิตวิทยาสติ (Mindfulness Psychology) ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางด้านจิตวิทยา (Psychology)

               และด้านประสาทวิทยาของสมอง (Neuroscience) ที่นำมาประยุกต์ใช้กับการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด
               โดยสามารถนำไปใช้ได้กับผู้รับบริการทุกศาสนา

                       หลักของการทำสติบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด (MBRP) คือ
                        1. ฝึกความสามารถในการจัดการความอยากยา ก่อนนำไปสู่การใช้ยา

                        2. ฟื้นฟูสมองส่วนคิดให้กลับมาควบคุมสมองส่วนอยาก ทั้งในด้านการจัดการเวลา ด้านการจัดการ

               กับอารมณ์และความเครียด และด้านการแก้ไขปัญหา
                        3. เน้นการฝึกสมาธิ เพื่อลดความกังวล/ความเครียด

                        4. การมีสติกับเรื่องที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ โดยเฉพาะกับความรู้สึกและความคิด จะช่วยให้ผู้เสพ/

               ผู้ติดยาเสพติดพัฒนาการปล่อยวางได้
                        5. ผู้เสพ/ติดยาเสพติด ส่วนใหญ่จะมีปัญหากับบุคคลที่รัก และมีปัญหาด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น

               การพัฒนาสติในการคิดเกี่ยวกับคนอื่น จะช่วยปรับเปลี่ยนความคิดและการสื่อสารทางลบ
                        6. ภายใต้ความสงบและการปล่อยวางอย่างมีสติ ผู้เสพ/ติดยาเสพติด จะสามารถเรียนรู้ที่จะให้อภัย

               มีเมตตาต่อตนเองและต่อผู้อื่นได้และจะช่วยให้คุณภาพของจิตใจดีขึ้นด้วย

                        7. ผู้เสพ/ติดยาเสพติดจะได้เรียนรู้การฝึกและการใช้ประโยชน์จากการฝึกจิต วันละ 20-30 นาที
               ควบคู่กับการฝึกสติในชีวิตประจำวัน โดยใช้ระฆังสติช่วย (ที่เรียนรู้จากการฝึก)

                        8. ระยะเวลาการบำบัด 8 session สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือน แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ
               1 ชั่วโมง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง และสามารถทำบำบัดทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม

               ที่มา : คู่มือสติบำบัดสำหรับการบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด (Mindfulness – Based Therapy and Counseling

               for Relapse Prevention Manual)







                                                           19
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30