Page 30 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 30

3. ตรวจวัดสัญญาณชีพ ขนาดรูม่านตา ประเมินอาการหลังให้ยาหากไม่ดีขึ้นรายงานแพทย์ซ้ำ

                               4. ให้ข้อมูลการรักษาแก่ครอบครัว และร่วมกันวางแผนการรักษา
                               5. จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย

                               6. พิจารณาการส่งต่อหากอาการไม่ดีขึ้น


                        4. แอลกอฮอล์

                           4.1 อาการถอนพิษสุรา หงุดหงิด นอนไม่หลับ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย มือสั่น
               ตัวสั่น เหงื่อออกมาก เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย สับสนวัน เวลา สถานที่ (Delirium Tremens)

               กระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง มีไข้ เห็นภาพหลอน หลงผิด หวาดระแวง

                              การดูแลช่วยเหลือ
                              1. ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการ อาการแสดง และประเมินภาวะขาดสุรา

                              2. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและครอบครัว
                              3. ให้ข้อมูลการบำบัดรักษาและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ แก่ผู้ป่วยและครอบครัว

                              4. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการได้รับยา

                              5. ประเมินอาการหลังการให้ยา หากไม่ดีขึ้นรายงานแพทย์ซ้ำ
                              6. ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำอย่างพอเพียง

                              7. จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย

                              8. พิจารณาการผูกยึด กรณีผู้ป่วยกระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรืออันตราย
                              9. ดูแลให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่องจนกว่าอาการทุเลา

                              10. วางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว
                              11. Tele-consult ผู้เชี่ยวชาญในจังหวัด/เขตสุขภาพ

                              12. พิจารณาส่งต่อหากเกินศักยภาพ


               2.11 แนวทางการผูกยึด

                        การประเมินก่อนตัดสินใจผูกยึดผู้ป่วยและการวางแผนการดูแลเบื้องต้น การประเมินผู้ป่วย

               เป็นสิ่งสำคัญในเบื้องต้นที่ต้องปฏิบัติ โดยประเมินปัจจัยต่างๆ ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสถูกผูกยึดตั้งแต่แรกรับ

               เช่น ระดับสติปัญญา ความรู้สึกตัว ปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์ ความเจ็บปวด ความต้องการความช่วยเหลือ
               ทางร่างกายในด้านต่างๆ เช่น อาหาร การขับถ่าย การเคลื่อนไหว รวมถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

               นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการประเมินซ้ำเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ












                                                           24
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35