Page 27 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 27

7. เรียนรู้ ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน เพิ่มเติม

               โมเดล AIC/TOPS/SRM/CBTx แนวทางการประเมินผลการดูแลช่วยเหลือโดยชุมชน
                        8. กิจกรรมบำบัด เรื่อง การออกกำลังกายตามบริบท/สภาพผู้ป่วย

               หมายเหตุ : การบำบัดเพิ่มเติม (Optional) Satir/Mind Fullness /12 step ศาสนบำบัด เป็นต้น


               2.10 แนวทางการบำบัดรักษาระยะกลาง (Intermediate Care) ตามกลุ่มของยาเสพติด

                        1. กลุ่มกระตุ้นประสาท (แอมเฟตามีน ยาบ้า ยาไอซ์ กระท่อม และโคเคน)

                           1.1 มีอาการถอนพิษยา เช่น ปวดหัว ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย หงุดหงิด กระสับกระส่าย มีความรู้สึกอยากยา
                               การดูแลช่วยเหลือ

                               1. สังเกตอาการ ประเมินอาการถอนพิษยา และอาการแสดง

                               2. ให้ข้อมูลผู้ป่วยถึงสาเหตุ การรักษา การปฏิบัติ
                               3. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์

                               4. ประเมินอาการหลังให้ยา
                               5. รายงานแพทย์ หากให้การรักษาแล้วไม่ดีขึ้น

                               6. จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ เพื่อส่งเสริมการนอนหลับ

                           1.2 มีอาการเมาสารกระตุ้นประสาท (Amphetamine Type Stimulant Intoxication)
               มีอาการสับสนวิตกกังวลอย่างมาก ความคิด ความจำผิดปกติ หงุดหงิดก้าวร้าว คลื่นไส้ กัดฟัน เกร็ง

               ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว มีไข้ (อุณหภูมิสูงกว่า 38 องศา) ชัก
                               การดูแลช่วยเหลือ

                               1. ตรวจวัดสัญญาณชีพ ประเมินอาการจากยาเสพติดและภาวะแทรกซ้อน

                               2. ให้ข้อมูลการรักษา ภาวะแทรกซ้อน หรือโรคร่วม
                               3. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และเฝ้าระวังอาการข้างเคียง

                               4. พิจารณาผูกยึดผู้ป่วย กรณีเกิดอาการก้าวร้าว เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและอันตราย

                               5. จัดให้ผู้ป่วยพักผ่อน
                               6. จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัย ไม่มีสิ่งรบกวน

                        2. กลุ่มหลอนประสาท (LSD ยาเค และอื่น ๆ)

                           2.1 อาการถอนพิษยา ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง วิตกกังวล หงุดหงิด กระสับกระส่าย
               ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น

                               การดูแลช่วยเหลือ
                              1. สังเกตและประเมินอาการถอนพิษยา และโรคร่วม ภาวะแทรกซ้อนทางกาย ประเมิน

               ภาวะซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย

                               2. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
                               3. ให้ข้อมูลการรักษา เช่น อาการ และการตรวจตามห้องปฏิบัติการ






                                                           21
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32