Page 26 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 26

4. การเสริมพลังครอบครัวและชุมชน ผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด

               จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยครอบครัวและชุมชนร่วมด้วย ส่วนหนึ่ง เนื่องจากสาเหตุการติดยาเสพติด

               และการใช้ยาเสพติดซ้ำ เกิดจากปัญหาด้านจิตใจและสังคม เช่น ความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาหนี้สิน ฯลฯ

               หากไม่มีการวางแผนช่วยเหลือปัญหาด้านจิตสังคมในผู้ป่วย จะนำสู่การกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำหรือการกำเริบ

               ของโรคจิตเวช ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนในที่สุด

                        ในช่วงที่ผู้ป่วยอาการกำเริบหรือมีปัญหาพฤติกรรมรุนแรง ครอบครัวและชุมชนจะเกิดความอ่อนล้า

               ความเครียด รู้สึกเป็นภาระที่ต้องดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องยาวนาน โดยไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การเสริมพลัง
               ครอบครัวและชุมชน จะช่วยให้ทีมบำบัดทำงานเป็นทีมเดียวกับครอบครัวและชุมชน เข้าใจความอ่อนล้า

               และภาระในการดูแลผู้ป่วย ช่วยให้ครอบครัวและชุมชนมองเห็นจุดแข็ง ทางออกหรือแนวทางแก้ปัญหา

               มีความหวังและพลังใจในการดูแลผู้ป่วยจนเข้าสู่ภาวะหยุดใช้ยาเสพติดต่อเนื่องได้
                        เป้าหมาย

                        1. ครอบครัวและชุมชน ยอมรับความเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเวชและยาเสพติด สามารถอยู่ร่วมกันได้
               โดยไม่ตีตรา

                        2. ครอบครัวและชุมชน ตระหนักในความสำคัญและบทบาทของตนในการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วย

               ยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด
                        3. ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด

                        กระบวนการ

                        1. สร้างความสัมพันธ์ และทำความเข้าใจปัญหาของครอบครัวและชุมชน (Pain Points)
               โดยอาจใช้กระบวนการ AIC, TOPS Model, Strategic Route Map, CBTx ฯลฯ และดำเนินการร่วมกับ

               หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม
                        2. กำหนดเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติดร่วมกัน

               ให้ครอบคลุมเป้าหมายสำคัญ คือ รับการรักษาต่อเนื่อง (รับประทานยาต่อเนื่อง) และลด/เลิกการใช้ยาเสพติด

                        3. วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงหรือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการใช้สุรา ยาเสพติด รวมถึง ปัจจัยปกป้องคุ้มครอง
               ให้ลด/เลิกใช้ยาเสพติดได้

                        4. ครอบครัวและชุมชน ออกแบบวิธีการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยทรัพยากรที่มีในครอบครัว
               และชุมชน โดยบูรณาการกับวิธีการเดิมที่ครอบครัวและชุมชนเคยใช้ได้ผล เช่น ชุมชนยั่งยืน ชุมชนเข้มแข็ง

               พชอ. กองทุน แม่ของแผ่นดิน เป็นต้น

                        5. ทีมบำบัดประสานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยสนับสนุนครอบครัวและชุมชนในการดูแล
               ช่วยเหลือผู้ป่วย

                        6. ทีมบำบัดร่วมกับครอบครัวและชุมชน ประเมินผลลัพธ์การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย โดยออกแบบวิธี

               ประเมินผลตามแนวทางการรักษารายบุคคล









                                                           20
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31