Page 29 - 1.8.67 E-booK เล่มคู่มือการดำเนินงานมินิธัญญารักษ
P. 29
3.1.2 อาการชัก (ชักเกร็งทั้งตัว)
การดูแลช่วยเหลือ
1. ประเมินอาการ และสัญญาณชีพ
2. ระวังไม่ให้ศีรษะกระแทกของแข็งขณะชัก เพื่อป้องกันการเกิดการบาดเจ็บ
3. นำอาหารหรือฟันปลอมที่มีอยู่ในช่องปากออก ปลดเสื้อผ้าที่รัดออกให้หายใจได้สะดวก
4. จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง
5. ห้ามใช้ไม้กดลิ้นหรือวัตถุใดๆ สอดเข้าปากหรืองัดปาก ขณะผู้ป่วยเกร็งเพราะอาจทำให้
ช่องปากเกิดการบาดเจ็บได้
6. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงหลังการให้ยา
7. ผู้ป่วยหลังชักอาจมีอาการมึนงงอยู่ หากยังไม่รู้สติห้ามผูกยึดผู้ป่วย เพราะจะกระตุ้น
ผู้ป่วยทำการต่อสู้รุนแรง ระหว่างนี้ควรดูแลอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะฟื้นเป็นปกติ
8. หลังชักควรปล่อยให้หลับต่อ ห้ามป้อนอาหารหรือยาจนกว่าจะฟื้นเป็นปกติ
เพราะ อาจจะสำลักได้
9. เฝ้าระวังการชักซ้ำ
3.2 กลุ่มโอปิออยด์ (ฝิ่น เฮโรอีนฯลฯ)
3.2.1 อาการถอนพิษยา หาว น้ำตาไหล น้ำมูกไหล กระวนกระวาย ขนลุก ม่านตาขยาย (>4 mm.)
หนาวๆ ร้อนๆ ปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร หงุดหงิด นอนไม่หลับ บางรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียน
หรือถ่ายเป็นเลือด อาจทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น
การดูแลช่วยเหลือ
1. ประเมินอาการ อาการถอนพิษยากลุ่มโอปิออยด์
2. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
3. ให้ข้อมูลการรักษา และการปฏิบัติตัว
4. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการได้รับยา
5. ประเมินอาการหลังให้ยา หากไม่ดีขึ้นให้รายงานแพทย์ซ้ำ
6. วางแผนร่วมกับผู้ป่วย และครอบครัวในการรักษา
7. จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัย ลดสิ่งกระตุ้น ให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนได้
3.2.2 อาการเป็นพิษ (Toxic symptoms) อาการนอนหลับมาก เรียกไม่รู้สึกตัว ผิวหนังเข้ม
หายใจช้า ความดันโลหิตต่ำ รูม่านตาหดเล็ก (Pinpoint pupils)
การดูแลช่วยเหลือ
1. ตรวจวัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอัตราการหายใจ ขนาดรูม่านตา ประเมินการทางยาเสพติด
กลุ่มโอปิออยด์
2. ให้ยาต้านฤทธิ์ตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น Naloxone ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
23