Page 158 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 158

D22


                          การพัฒนาแนวทางการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด

                                           เพื่อลดอัตราการกลับมาเจาะเลือดยืนยัน



                                                                                         นางสาวดาวเรือง จัตุชัย

                                                            โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหางานวิจัย
                         ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนอย่างถาวร แต่สามารถ
                  ป้องกันโดยการค้นหาและให้การวินิจฉัยก่อนอายุ 3 เดือนจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2561 - 2563) พบว่า

                  ทารกมีค่า TSH มากกว่า 11.24 mU/L ร้อยละ 6.23, 8.6 และ 16.3 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมารดา
                  จึงต้องเดินทางนำทารกกลับมาเจาะเลือดเพื่อยืนยันผลซ้ำเพิ่มขึ้น จากปัญหาดังกล่าวทางเจ้าหน้าที่ห้องคลอดและ
                  กุมารแพทย์ จึงจัดทำวิจัยและจัดทำแนวทางการพัฒนาการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด
                  ขึ้นมา เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยลดภาระมารดาที่ต้องเดินทางนำทารกกลับมาเจาะเลือดเพื่อยืนยันผลซ้ำ
                  และผู้รับบริการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไม่ต้องถูกเจาะเลือดหลายครั้ง


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อพัฒนาแนวทางคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด

                         2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจาะเลือดและลดอัตราทารกกลับมาเจาะเลือดยืนยัน

                  วิธีการศึกษา

                         ระยะที่ 1 วางแผน
                         1. วิเคราะห์สถานการณ์ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด

                         2. ตั้งทีมพัฒนาการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดเพื่อเป็นแกนหลักในการปรับปรุง
                  แนวทางการคัดกรองรูปแบบใหม่ ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่พยาบาลห้องคลอดจำนวน 10 คน (2) กุมารแพทย์

                  จำนวน 1 ท่าน

                         3. วิจัยเพื่อเปรียบเทียบการเจาะเลือดทารกที่ระยะเวลา 48 - 49 ชั่วโมง 59 นาที และ 50 - 72 ชั่วโมง
                  หลังคลอด ประชากร คือ ทารกทุกรายที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในโรงพยาบาล

                  โกสุมพิสัย ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 จำนวน 319 ราย
                         ระยะที่ 2 ดำเนินการ

                         วงรอบที่ 1

                         (1) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะในการเจาะเลือดทารกเพื่อส่งตรวจเช่น ตำแหน่งในการเจาะเลือด
                  ทักษะการหยดเลือด เป็นต้น

                         (2) ปรับปรุงแนวทางการเจาะเลือดเพื่อคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิด โดยจากเดิม
                  เจาะเลือดทารกที่เวลามากกว่าหรือเท่ากับ 48 ชั่วโมงหลังคลอด เปลี่ยนเป็นเจาะเลือดทารกที่เวลามากกว่าหรือ

                  เท่ากับ 50 ชั่วโมงหลังคลอด (จาก GPG เดิมให้เจาะเลือดที่ 48 - 72 ชั่วโมงหลังคลอด)
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163