Page 159 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 159
D23
(3) ประชุมชี้แจงในการเริ่มใช้แนวทางการเจาะเลือดใหม่ โดยเริ่มเก็บข้อมูล 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30
กันยายน 2564 จำนวน 189 ราย และติดตามผลการดำเนินงานทุก 1 เดือน พบว่าขณะเจาะเลือดทารกร้องไห้
งอแงและไม่นิ่งขณะเจาะเลือด จึงนำไปสู่วงรอบที่ 2
วงรอบที่ 2 ปรับการเจาะเลือดทารกจากเดิมนำทารกมาเจาะเลือดได้เลยเมื่อครบเวลาที่กำหนด
เปลี่ยนเป็นให้ทารกดูดนมให้อิ่มก่อนเจาะเลือดทุกครั้ง เพื่อทารกจะได้ไม่ร้องไห้และดิ้นขณะเจาะเลือด โดยเริ่ม
เก็บข้อมูล 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2565 จำนวน 209 ราย และติดตามผลการดำเนินงานทุก 1 เดือน
ระยะที่ 3 ประเมินผลการปฏิบัติงาน
ผลการศึกษา
ระยะที่ 1 ขณะปฏิบัติตามแนวทางคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนเดิม พบทารกมีค่า TSH
มากกว่า 11.24 mU/L= 52 ราย คิดเป็น 16.3%(n=319) เมื่อวิจัยเพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเจาะเลือด
พบว่า ทารกแรกเกิดที่เจาะเลือดที่เวลา 50 - 72 ชั่วโมงหลังคลอด มีค่า TSH>11.24 mU/L น้อยกว่าทารกที่
เจาะเลือดที่เวลา 48 - 49 ชั่วโมง 59 นาทีหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
ระยะที่ 2 หลังจากปฏิบัติตามแนวทางคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนรูปแบบใหม่วงรอบที่ 1
พบทารกมีค่า TSH มากกว่า 11.24 mU/L=8 รายคิดเป็น 4.2%(n=189) และวงรอบที่ 2 ทารกมีค่า TSH
มากกว่า 11.24 mU/L=8 รายคิดเป็น 3.8%(n=209) และเจ้าหน้าที่พยาบาลทุกคนเจาะเลือดได้ถูกต้อง
ไม่พบว่ากระดาษซับเลือดเกิดความเสียหาย
ระยะที่ 3 ผลการวิจัยพบว่าหลังจากปฏิบัติตามแนวทางคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนรูปแบบใหม่
มีอัตราของค่า TSH ที่มากกว่า 11.24 mU/Lลดลง มีประสิทธิภาพและแม่นยำขึ้นจึงทำให้อัตราทารกที่กลับมา
เจาะเลือดยืนยันลดลงตามไปด้วยดังนี้ ปีงบประมาณ 2563-2565 พบอัตราทารกกลับมาเจาะเลือดยืนยันเท่ากับ
ร้อยละ 16.3, 4.2 และ 3.8 ตามลำดับ
อภิปรายผล
พบว่าหากเลื่อนระยะเวลาการเจาะเลือดทารกก่อนจำหน่ายกลับบ้านออกไปอีก 2 ชั่วโมง จะทำให้
ทารกมีค่า TSH ลดลงและได้ค่าที่แม่นยำขึ้น ลดภาระมารดาที่ต้องเดินทางนำทารกกลับมาเจาะเลือดเพื่อยืนยัน
ผลซ้ำ ผู้รับบริการไม่ต้องถูกเจาะเลือดหลายครั้งและลดภาระงานของเจ้าหน้าที่
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
การคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกเกิดมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคได้ทันท่วงที และ
ให้การรักษาก่อนอายุสามเดือนจะช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนในเด็กแรกเกิดได้ ซึ่งควรปฏิบัติตามแนวทาง
คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่อง