Page 161 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 161
E1
การพัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและสารเสพติด
ผ่าน Application Sakhrai Hosplus
นายแพทย์อลงกฎ ดอนละ, นางวรรัตน์ สุขม่วง, นายณพัทธ์พล โชติวัฒนปรีชากุล
นายชัยพัฒน์ อักษร และนางสาวรัตญา โสตาราช
โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
จากการทบทวนระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในปี 2564 – 2567
พบว่า ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่ก่อความรุนแรง ปี 2564 จำนวน 165 ราย แยกระดับความรุนแรง 3 ระดับ
ดังนี้ ระดับสีแดง จำนวน 52 ราย ,ระดับสีเหลือง จำนวน 36 ราย, ระดับเขียว จำนวน 77 ราย ปี 2565
จำนวน 186 ราย แยกระดับความรุนแรง 3 ระดับ ดังนี้ ระดับสีแดง จำนวน 6 ราย ,ระดับสีเหลือง จำนวน 32 ราย,
ระดับเขียว จำนวน 148 ราย และ ปี 2566 จำนวน 181 ราย แยกระดับความรุนแรง 3 ระดับ ระดับสีแดง
จำนวน 4 ราย , ระดับสีเหลือง จำนวน 6 ราย ,ระดับสีเขียว จำนวน 171 ราย ปี 2567 จำนวน 191 ราย
แยกระดับความรุนแรง 3 ระดับ ระดับสีแดง จำนวน 7 ราย , ระดับสีเหลือง จำนวน 2 ราย ,ระดับสีเขียว
จำนวน 181 ราย ส่งผลให้ผู้ป่วย ญาติ บุคคลได้รับบาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหาย เป็นภาระในการดูแลของญาติ
และชุมชน รวมถึงสูญเสียงบประมาณในการรักษา
กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดได้พัฒนาระบบบริการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยง
สูงต่อการก่อความรุนแรง โดยพัฒนาเครือข่ายระดับชุมชนให้สามารถดูแลต่อเนื่อง ประเมินเฝ้าระวังอาการ
กำเริบ สังเกตอาการเตือน การกลับเป็นซ้ำ และประสานส่งต่อเมื่อผู้ป่วยก่อความรุนแรงอย่างถูกต้องเหมาะสม
ปลอดภัย ทั้งผู้ป่วย ญาติ และผู้ให้บริการผ่าน Application Sakhrai Hosplus
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดูผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดในชุมชน
2. เพื่อติดตามอาการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความรุนแรงในชุมชน
3. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลและรักษาต่อเนื่องป้องกันไม่ให้อาการทางจิตกำเริบรุนแรง
วิธีการศึกษา
ออกแบบร่วมกับทีม IT นำระบบ สารสนเทศเข้ามาช่วยในการตรวจสอบข้อมูล การตรวจรักษา
การขาดการรักษา การติดตาม การแจ้งเตือนนัด การแจ้งเตือนฉุกเฉินและการส่งต่อ ประจำปี โดยสร้าง
แอพพลิเคชั่น Sakhrai Hosplus ตามวงจรการพัฒนาระบบ Software Development Life Cycle (SDLC)
มี 7 ขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดปัญหา
กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด พบปัญหาการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้ทำการประชุมร่วมกับ
หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาระบบ
2. วิเคราะห์ข้อมูล
ได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการพัฒนาระบบให้ได้ตาม
วัตถุประสงค์ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด