Page 300 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 300

H7


                    ทศวิถีเทิดไท้องค์ราชันย์ ต้นแบบงานรากฟันเทียมและทันตกรรมทางไกล (Teledentistry)
                                     เฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 10  เขตสุขภาพที่ 10



                                                                                    ทันตแพทย์วุฒิชัย  ตั้งสิริสุธีกุล
                                                   โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี  เขตสุขภาพที่ 10
                                                                    ร่วมกับ ทันตแพทย์หญิงอุมาพร  รุ่งรัศมีทวีมานะ ,

                                                          นางชฎาพร  ตฤณานนทกุล และ นางเตือนใจ  ศิลปวิทยากรณ์
                                                                                              ประเภท  วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหา
                         งานบริการฝังรากฟันเทียม เพื่อยึดฟันเทียมให้แน่น เป็นหัตการที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน ต้องทำ

                  โดยทันตแพทย์ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ความชำนาญ จำนวนครั้งที่ผู้รับบริการต้องมาพบแพทย์จนสิ้นสุด
                  การรักษา โดยเฉลี่ย 8 ครั้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการของผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้สูงอายุในพื้นที่ห่างไกล
                  กลุ่มเปราะบาง (ผู้ต้องขัง) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการฝังรากฟันเทียมของผู้ให้บริการ ได้แก่ โรงพยาบาลลูกข่าย

                  ขาดแคลนทันตแพทย์เฉพาะทาง และเครื่องมือสนับสนุนการให้บริการฝังรากฟันเทียม กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
                  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
                  ในการวางแผนพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร และจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการจะช่วยให้ทันตแพทย์โรงพยาบาล
                  ลูกข่าย สามารถเตรียมความพร้อมของผู้รับบริการก่อนการฝังรากเทียม ที่โรงพยาบาลแม่ข่าย โดยการบูรณาการ

                  เทคโนโลยีสารสนเทศ ทันตกรรมทางไกล (Teledentistry) เพื่อลดช่องว่าง หรือข้อจำกัด ระหว่าง ผู้รับบริการ
                  โรงพยาบาลลูกข่าย และโรงพยาบาลแม่ข่าย ตลอดจนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเข้าถึงบริการ ในรูปแบบ
                  บริการเชิงรุกในพื้นที่ต่างๆ และบูรณาการ่วมกับโครงการราชทัณฑ์ปันสุข

                  วัตถุประสงค์
                         1. สร้างองค์กรต้นแบบในการศึกษาพัฒนาและประยุกต์องค์ความรู้และเทคโนโลยีทันตกรรมทางไกล

                  เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการและผู้ให้บริการตามกรอบแนวคิดกระบวนการดูแลผู้ป่วย
                         2. พัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรและสร้างเครือข่ายในการดำเนินโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ
                         3. ยกระดับการให้บริการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมทั้งให้บริการเชิงรุกและขยาย
                  การให้บริการไปยังงานทันตกรรมด้านอื่นๆ โดยเริ่มต้นจากงานศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล

                  วิธีการศึกษา

                         “โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ” ในปี2566 ที่ผ่านมาเขตสุขภาพที่ 10 บริการรากฟันเทียม
                  ยังไม่ได้ตามเป้าหมายจำนวน 55ราย และเป้าหมายปี 2567 จำนวน 202 ราย  รวมทั้งสิ้น 257 ราย
                  ในปี 2567  กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับกลุ่มงานทันตกรรม

                  โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายที่มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือและบุคลากร จึงได้
                  วางแผนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดย
                         1. สำรวจความพร้อมด้านเครื่องมือและบุคลากรโรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัด เพื่อวางแผน
                  การให้บริการ ตลอดจนการส่งต่อผู้รับบริการมาที่โรงพยาบาลแม่ข่าย
                         2. วางแผนการดำเนินงานและจัดฝึกปฏิบัติการฝังรากฟันเทียมจริงแก่ทันตแพทย์โรงพยาบาลลูกข่าย

                  โดยผู้รับบริการจากโรงพยาบาลลูกข่าย  ที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
   295   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305