Page 351 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 351
J9
นวัตกรรม กระดาษกาวปิดข้างไหน..ใช่ข้างนั้น
นางนงเยาว์ ยุตะกิจ
โรงพยาบาลพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เขตสุขภาพที่ 6
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหา
ห้องผ่าตัดเริ่มเปิดบริการผ่าตัดด้านศัลยกรรมจักษุมาตั้งแต่ปี 2556 และมีปริมาณการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้น
มาเรื่อย ๆ สถิติการผ่าตัดในปี 2563 มีทั้งหมด 1,048 ราย ปี 2564 มีทั้งหมด 670 ราย ปี 2565 มีทั้งหมด
668 ราย และปี 2566 3 เดือนย้อนหลัง มีทั้งหมด 301 ราย
ได้แยกเป็นผ่าตัดต้อเนื้อในปี 2563 มีทั้งหมด 228 ราย ปี 2564 มีทั้งหมด 100 ราย ปี 2565
มีทั้งหมด 32 ราย ปี 2566 มีทั้งหมด 218 ราย ปี 2567 ย้อนหลัง 3 เดือน มีทั้งหมด 31 ราย
การผ่าตัดแต่ละครั้งของคนไข้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะการผ่าตัดที่มีอวัยวะสองข้าง
ต้องระบุข้างที่ผ่าตัดให้ถูกต้อง ถูกวิธี ก่อนที่แพทย์จะทำการผ่าตัดในแต่ละครั้ง เมื่อผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกหรือ
ผ่าตัดต้อเนื้อ เมื่อมาถึงห้องผ่าตัดพยาบาลต้องตรวจสอบดู Chart ผู้ป่วย ดูป้ายที่หน้าอกเช่นผ่าตัดต้อกระจก
ตาข้างขวา มีป้ายว่าตาข้างขวา ที่ติดมากับตัวผู้ป่วย และจากการสอบถามผู้ป่วยร่วมด้วยว่าตรงกันหรือไม่
และที่สำคัญเมื่อผู้ป่วยมานอนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องผ่าตัด พยาบาลห้องผ่าตัดต้องทำการหยอดยาชา
และยาฆ่าเชื้อ สลับกัน 5 ครั้ง ของตาข้างที่จะผ่าตัด แต่ก่อนจะหยอดตานั้น พยาบาลห้องผ่าตัดต้องอธิบายให้
ผู้ป่วยเข้าถึงหลักการที่ต้องพึงปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องถึงหลักความสะอาดของตาก่อนที่จะผ่าตัดในแต่ละครั้ง
ต้องทำการคลุมผมผู้ป่วยด้วยผ้าสามเหลี่ยมที่เตรียมไว้เก็บผมให้เรียบร้อยและปิดใบหูด้วย กับติดแถบกระดาษกาว
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการผ่าตัดที่ถูกคน ถูกข้าง ในการผ่าตัดต้อกระจกในแต่ละคน เช่น ถ้าจะผ่าตัดเปลี่ยน
ต้อกระจกตาข้างขวาให้ปิดแถบกระดาษกาวบริเวณเหนือคิ้วมาทางด้านตาขวาของคนไข้ เพื่อจะได้รู้ว่าคนไข้
มาผ่าตัดเปลี่ยนต้อกระจกตาข้างขวา และตาข้างซ้ายก็จะทำเช่นเดียวกัน และจะพึงปฏิบัติอย่างนี้กับคนไข้
ทุกคนที่มาผ่าตัดที่ห้องผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดอะไรก็ตามต้องมีการ Sing in / Time Out / Sing Out ตลอด
ถือว่าเป็นหัวใจของห้องผ่าตัด
ดังนั้นห้องผ่าตัดจึงได้พัฒนาแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับพยาบาล
ที่ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและปลอดภัยทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานใน
ห้องผ่าตัด ลดความคลาดเคลื่อนจากการผ่าตัด ผิดคน ผิดข้าง และสอดคล้องกับนโยบายการป้องกันการผ่าตัด
ผิดคนผิดข้างของ Safe Surgery
ปัญหาและสาเหตุ
การเกิดความคลาดเคลื่อนทางการผ่าตัด ผิดคน ผิดข้าง ในแต่ละระดับมีความรุนแรงที่ต่างกัน ล้วนแต่
จะเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยและญาติ ดังนั้นการลดความคลาดเคลื่อนทางการผ่าตัดจึงเป็นแนวทางและ
เป็นกระบวนการคุณภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยในการผ่าตัดแต่ละครั้งของผู้ป่วยที่มีอวัยวะสองข้าง
ซึ่งทางห้องผ่าตัดมีความต้องการที่จะลดความคลาดเคลื่อนทางการผ่าตัดที่จะเกิดขึ้นในห้องผ่าตัด ได้รับ
ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยทุกรายที่มาผ่าตัดในห้องผ่าตัด จึงขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางหอผู้ป่วยในการติดป้าย
ที่หน้าอกมากับผู้ป่วยและติดมากับ Chart ผู้ป่วย ก่อนนำผู้ป่วยส่งมาห้องผ่าตัด เพื่อปฏิบัติไปในทางแนวเดียวกัน
เพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางการผ่าตัด ผิดคน ผิดข้าง
วัตถุประสงค์