Page 355 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 355

J13


                  (ร้อยละ 27.3) โดยปัจจัยทำนายที่มีผลต่อการลดลงความดันตาหลังผ่าตัด ได้แก่ ค่าความดันตาก่อนผ่าตัด
                  (β=0.86, p<0.001)

                  อภิปรายผล
                           การศึกษานี้พบว่าค่าความดันตาที่ลดลงหลังการผ่าตัดจะคงที่ที่ระยะเวลา 1 เดือนหลังการผ่าตัดและ

                  ใกล้เคียงกันหลังการติดตามผลความดันตาที่ระยะเวลา 6 เดือน สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่มีระยะเวลา
                  ติดตามผู้ป่วยที่แตกต่างกันตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี โดยพบว่าความดันตาที่เปลี่ยนแปลงไม่มีความแตกต่างกัน
                  หลังผ่าตัดที่ 6 เดือน และพบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่าความดันตาก่อนการผ่าตัดสูงกว่า 20 มิลลิเมตรปรอท
                  มีการลดลงของความดันตามากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีค่าเริ่มต้นของความดันตาที่น้อยกว่า นอกจากนั้นหลัง

                  ผ่าตัดมีระดับการมองเห็นที่ดีขึ้นและจำนวนยาต้อหินที่ใช้ลดลง โดยสามารถหยุดยาต้อหินได้ร้อยละ 27.3
                  สอดคล้องการศึกษาในไทยและต่างประเทศ ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย
                  และโรงพยาบาลในการใช้ยาต้อหิน

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                                การผ่าตัดต้อกระจกโดยวิธีสลายต้อกระจก (phacoemulsification) ในผู้ป่วยต้อหินมุมปิด

                  ปฐมภูมิ มีความดันตาลดลงอย่างมาก มีระดับการมองเห็นที่ดีขึ้นมาก มีจำนวนยาต้อหินที่ใช้หลังผ่าตัดลดลง
                  อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ความดันตาก่อนผ่าตัดเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
                  ของความดันตาหลังการผ่าตัด การให้คำแนะนำรวมถึงข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังผ่าตัดของจักษุแพทย์

                  เป็นสิ่งจำเป็นในการร่วมตัดสินใจในการผ่าตัด ดังนั้นการพัฒนาระบบบริการสุขภาพทางจักษุ นอกจาก
                  กลุ่มต้อกระจกชนิดบอด (blinding cataract) ที่ต้องได้รับการผ่าตัดที่รวดเร็วเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนแล้ว
                  ผู้ป่วยต้อหินมุมปิดปฐมภูมิที่มีต้อกระจกร่วมด้วยได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดต้อกระจกที่รวดเร็วเช่นกัน
   350   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360