Page 356 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 356

J14


                     การพัฒนารูปแบบการตรวจรักษาผู้มีปัญหาทางตา กรณีศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรม
                                การบริการผู้ป่วย คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพล อ.พล จ.ขอนแก่น


                                             แพทย์หญิงพนิดา พิทยกิตติวงศ์ นางสาวนงนุช พลเขต นางจารุวรรณ เภาพาน

                                                                     โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภท วิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ปี 2020 ทุกคนมีสุขภาพดวงตาดีถ้วนหน้าและมีสิทธิ์เข้าถึงบริการ
                  ทางจักษุ (World Health Organization [WHO], 2014) ได้อย่างครอบคลุม กระทรวงสาธารณสุข
                  ได้กำหนดให้มีการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาสถานบริการให้มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการและ

                  ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยให้คุ้มทุน ทำให้ทุกหน่วยงานต้องใช้ทรัพยากรซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                  และนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขต้องการให้มีการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของโรงพยาบาลและใช้เป็น
                  ตัวกำหนดการเพิ่มประสิทธิภาพของโรงพยาบาล จากผลการสำรวจล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขปี 2557

                  พบว่าคนไทยตาบอด มีสาเหตุจากต้อกระจกร้อยละ 70 พบว่าโรคตาต้อกระจกชนิดบอดเกิดใหม่ปีละ 60,000 ราย
                  ร้อยละ 80 เป็นกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การตรวจคัดกรอง
                  ประชาชนที่เป็นโรคต้อกระจกมีภาวะผิดปกติด้านสายตา เป็นการค้นหาความผิดปกติของดวงตาและ
                  ให้การดูแลรักษาได้ทันท่วงที รวมทั้งสามารถป้องกันภาวะตาบอดที่เกิดจากโรคแทรกซ้อนได้ สถานการณ์ของ
                  โรงพยาบาลพล พบผู้ป่วยที่มารักษาด้วยโรคต้อกระจกปี 2563 – 2565 จำนวน 196, 149 และ 174 ราย

                  ตามลำดับ ต้องส่งตัวไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า โรงพยาบาลพลจึงได้เล็งเห็นปัญหาของ
                  ประชากรในพื้นที่ ดังนั้นแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพล จึงมีความสนใจที่จะพัฒนาคลินิกจักษุเพื่อให้
                  การบริการตรวจรักษาผู้มีปัญหาทางสายตาและได้รับการรักษาอย่างครอบคลุมทำให้มองเห็นเป็นปกติ

                  ลดความพิการ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาในเขตอำเภอพลและอำเภอข้างเคียงเข้าถึงบริการตรวจรักษา
                         2. เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาได้รับการรักษาอย่างครอบคลุม ทำให้การมองเห็นเป็นปกติ ลดความพิการ
                  สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ

                         3. วิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมบริการผู้ป่วยโรคทางตา

                  วิธีการศึกษา
                         เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบ Developmental Studies ตามแนวความคิด PDCA (Deming Cycle)
                  ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 1) การวางแผน (Planning) ประชุมชี้แจงนโยบายและกระบวนการดำเนินงาน
                  แก่คณะกรรมการ กำหนดวัตถุประสงค์การคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคต้อกระจกให้ได้รับการรักษาและผ่าตัด

                  ได้ทันเวลาป้องกัน ลดอัตราตาบอดจากโรคต้อกระจก พัฒนาระบบการให้บริการคลินิกจักษุและวิเคราะห์
                  ต้นทุนกิจกรรมการบริการผู้ป่วย ศึกษาดูงานเพื่อดูระบบการบริหารจัดการตรวจรักษาผู้มีปัญหาทางสายตาและ
                  การผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจก ประสานทีมอาจารย์จักษุแพทย์และทีมผ่าตัด จัดทำแนวทางปฏิบัติและจัดเตรียม
                  สถานที่ เครื่องมือ เวชภัณฑ์ที่ต้องใช้ในการบริการ การวางแผน (Planning) ประชุมชี้แจงนโยบายและ

                  กระบวนการดำเนินงานแก่คณะกรรมการกำหนดวัตถุประสงค์ 2) การปฏิบัติ (Doing) จัดประชุมร่วมกับองค์กร
                  ท้องถิ่น ให้บริการตรวจคัดกรองวัดสายตา V/A โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุโดย อสม. และเจ้าหน้าที่ของ PCU
   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361