Page 354 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 354
J12
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาผลการรักษาผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิดปฐมภูมในเรื่องความดันตา ระดับ
การมองเห็น จำนวนยาต้อหินที่ใช้หลังผ่าตัด
2. เพื่อศึกษาถึง ocular biometric parameters ที่ส่งผลถึงความดันตาที่เปลี่ยนแปลงหลังผ่าตัด
3. ลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและโรงพยาบาลในการใช้ยาต้อหิน เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
วิธีการศึกษา
ศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยโรคต้อหินมุมปิดปฐมภูมิที่ได้รับการผ่าตัดสลายต้อกระจกเข้ารับการรักษาที่
โรงพยาบาลพนัสนิคม 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) จำนวน 121 คน เกณฑ์การคัดผู้ป่วยเข้า คือ ผู้ป่วยต้อหินมุมปิด
ปฐมภูมิที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีสลายต้อกระจกมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจาก
การผ่าตัดต้อกระจก เกณฑ์การคัดผู้ป่วยออก คือ ผู้ป่วยที่มีโรคตาอื่นๆ ที่มีผลต่อการมองเห็น ผู้ป่วยที่มีประวัติ
การผ่าตัดตามาก่อน ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจพบมุมตาด้วย
goniolens พบว่า iridotrabecular contact (ITC) มากกว่า 180 องศา มีความดันตาก่อนรักษามากกว่า
21 มิลลิเมตรปรอท มีขั้วประสาทตาและลานสายตาที่เข้าได้กับต้อหิน ได้รับการวัดความดันตาชนิดไม่สัมผัส
(non-contact tonometry: NCT) ด้วยเครื่อง Nidex รุ่น NT- 530P ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัดที่ 1 สัปดาห์
1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน โดยเจ้าหน้าที่คลินิกจักษุ 2 ท่าน ได้รับการวัดเลนส์ตาเทียมด้วยวิธี immersion
ultrasound biometry โดยใช้เครื่อง A/B scan ultrasound (Quantel Medical รุ่น Compact Touch)
โดยผู้วัดคนเดียวตลอดการวิจัย ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกโดยจักษุแพทย์คนเดียวกันทุกราย โดยใช้เครื่อง
Whitestar Signature Pro System (Abbort Medical Optics inc., USA) มีการสอบเทียบ (calibration)
เครื่องมือทุกชนิดทุก 6 เดือน บันทึกข้อมูลโดยใช้ Case record form ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) ข้อมูล
ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ วันที่ได้รับการผ่าตัด ตาข้างที่ได้รับการผ่าตัด 2) ข้อมูลอาการ
ทางคลินิก ได้แก่ ระดับการมองเห็นก่อนและหลังผ่าตัดที่ 1 เดือน (best corrected visual acuity) นำมา
แปลงเป็นค่า logMAR (logarithm of the Minimum Angle of Resolution) ค่าความดันตาก่อนผ่าตัดและ
หลังผ่าตัดที่ 1 สัปดาห์ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน จำนวนยาต้อหินที่ใช้ก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด
3) ค่า ocular biometric parameters ก่อนการผ่าตัด ได้แก่ ความลึกของช่องหน้าม่านตา ความหนาของ
เลนส์ตา ค่าความยาวลูกตา ค่า Lens-axial length factor (LAF) และค่า Relative Lens position (RLP)
วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา Paired sample t-test, Repeated measures ANOVA และ Multiple
linear regression กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยต้อหินมุมปิดปฐมภูมิได้รับการผ่าตัดต้อกระจกจำนวน 121 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 96 คน
(ร้อยละ 79.3) เพศชาย 25 คน (ร้อยละ 27.7) อายุเฉลี่ยทั้งหมด 67.9± 8.4 ปี ข้อมูลผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
ประกอบด้วย ระดับการมองเห็นค่าสายตาที่ดีที่สุด (logMAR) 1.0±0.5 ค่าความดันตาเฉลี่ย 17.9±5.1
มิลลิเมตรปรอท จำนวนยาต้อหินที่ใช้ 2.0±0.9 ชนิด ค่าความลึกของช่องหน้าม่านตา 2.5±0.2 มิลลิเมตร
ค่าความหนาเลนส์ตา 5.1±0.4 มิลลิเมตร ค่าความยาวลูกตา 22.4± 0.7 มิลลิเมตร ค่า Lens-axial length factor
(LAF) เป็น 2.3±0.2 และค่า Relative lens position (RLP) เป็น 1.7±0.1 หลังผ่าตัดพบว่า ความดันตาเฉลี่ย
ลดลงหลังผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญ จากความดันตาเริ่มต้น 17.9±5.1มิลลิเมตรปรอท ลดลงเป็น 12.1±2.5
มิลลิเมตรปรอท (p<0.001) กลุ่มที่มีความดันตาสูงกว่าก่อนผ่าตัดมีการลดลงของความดันตาหลังผ่าตัดมากกว่า
อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ระดับการมองเห็นหลังผ่าตัดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (logMAR ลดลง 0.8, p<0.001)
จำนวนยาต้อหินที่ใช้หลังผ่าตัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) ผู้ป่วยสามารถหยุดยาลดความดันตาได้ 33 คน