Page 40 - Best practice_Oral2024 (อัพเดต)
P. 40
A1
การศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวอย่างเข้มข้น
(Intensive Heart Failure Clinic) โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ธิดารัตน์ หนชัย ปริตา บัณฑิตบุญดี
วิศรุต วันชัยธนวงศ์ และสุประวีณ์ งามมีฤทธิ์สกุล
โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด และเป็นกลุ่ม
อาการทางคลินิกในระยะสุดท้าย ความรุนแรงของอาการภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นสาเหตุให้มาตรวจซ้ำ
ก่อนวันนัด ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ การจัดตั้งคลินิกโรคหัวใจ
ล้มเหลวอย่างเข้มข้น (Intensive heart failure clinic) โดยการนำกรอบแนวคิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วย
โรคเรื้อรัง (Chronic care model (CCM) มาใช้เพื่อดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปัญหาซับซ้อน และมีการ
กลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และนักโภชนาการ โดยมีขั้นตอนและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งกาย ใจ
และพฤติกรรม องค์ประกอบของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่หลากหลายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ผลลัพธิ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้น ดังนั้นคาดว่าการจัดตั้งคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวอย่างเข้มข้น (Intensive heart
failure clinic) ซึ่งเป็นการนำกรอบแนวคิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังมาใช้ โดยกิจกรรมเป็นการเก็บรวม
รวมข้อมูลปัญหาทางคลินิกของผู้ป่วย แล้วทำการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความรู้และทักษะ
การจัดการตนเอง และส่งต่อการดูแลร่วมกับทีมสหสาขา จะส่งผลให้เกิดผลลัพธิ์การดูแลที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลวอย่างเข้มข้น (Intensive
Heart Failure Clinic) โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วิธีการศึกษา
รูปแบบศึกษา Historical control design ศึกษาในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาใน
หอผู้ป่วยอายุรกรรมและมาติดตามอาการที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวอย่างเข้มข้น ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาล
เชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2566
วิธีการศึกษา ใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ภาวะหัวใจล้มเหลว แบบสอบถาม
คุณภาพชีวิต และแบบบันทึกการมาตรวจซ้ำก่อนวันนัด ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในหอ
ผู้ป่วยอายุรกรรม และมาติดตามอาการที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวอย่างเข้มข้น ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาล
เชียงรายประชานุเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (STATA) โดยแจกแจงเป็นค่าความถี่
ร้อยละ และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ภาวะหัวใจล้มเหลว คุณภาพชีวิต การมาตรวจซ้ำก่อนวันนัด ค่า EF จากการ
ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง (Echocardiography) และระยะทาง 6MWT
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 94 ราย
เป็นชายต่อหญิงในอัตราส่วนประมาณ 2 ต่อ 1 ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 57.54 (±17.07) ส่วนใหญ่ได้รับ